คำฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตาม ป.อ.มาตรา 342(2) และป.วิ.อ.มาตรา 158(5) หรือไม่
คำฟ้องของโจทก์สมบูรณ์ตาม ป.อ.มาตรา 342(2) และป.วิ.อ.มาตรา 158(5) หรือไม่
169 Views
มีคำถามว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า “จำเลยหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ โดยอาศัยความโง่เขลาเบาปัญญาของโจทก์และประกอบด้วยความอ่อนแอทางจิตของโจทก์ให้หลงเชื่อว่าเป็นความจริง กล่าวคือ จำเลยได้แสดงตนต่อโจทก์ว่าเป็นคนทรงเจ้าเข้าผีสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นความจริง และจำเลยยังได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยปกปิดข้อความจริงอันควรบอกให้แจ้งอีกว่าเหล็กไหลเป็นของวิเศษ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โจทก์กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้นให้หายขาดได้ อีกทั้งเหล็กไหลเป็นของวิเศษปืนยิงไม่ออก ตลอดจนสามารถใช้ในการแสวงหาโชคลาภทำให้ร่ำรวยได้ ทำให้โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นความจริง ความจริงแล้วเหล็กไหลไม่มีอยู่จริงและไม่สามารถรักษาโรค ตลอดจนไม่สามารถใช้แสวงหาโชคลาภทำให้ร่ำรวยได้ และจำเลยได้หลอกลวงโจทก์อีกว่า ถ้าโจทก์ต้องการซื้อจำเลยจะเป็นผู้จัดการซื้อให้จากพระอาจารย์แสงจันทร์ซึ่งเป็นของแท้จริง โจทก์หลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงมอบทรัพย์ให้แก่จำเลยไปเพื่อซื้อเหล็กไหลตามที่จำเลยหลอกลวง ซึ่งความจริงแล้วข้อความดังกล่าวล้วนเป็นความเท็จเพราะพระอาจารย์แสงจันทร์ไม่มีตัวตนอยู่เลย ขอให้ลงโทษตามป.อ. มาตรา 341, 342(2), 91 และคืนเงินแก่โจทก์” หากการบรรยายฟ้องของโจทก์ข้างต้น มิได้บรรยายให้ชัดเจนว่า โจทก์เป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญาอย่างไร หรือเหตุใดจึงเป็นผู้มีจิตอ่อนแอ ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจะสมบูรณ์ตาม ป.อ.มาตรา 342(2) และป.วิ.อ.มาตรา 158(5) หรือไม่
ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) มีหลักว่า “ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี” การบรรยายฟ้องของโจทก์ข้างต้น นอกจากโจทก์จะได้กล่าวในฟ้องในตอนต้นและตอนท้ายว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์อาศัยความโง่เขลาเบาปัญญาและความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์แล้ว โจทก์ยังบรรยายข้อความที่จำเลยหลอกลวงโจทก์อีกว่า เหล็กไหลสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่โจทก์กำลังเป็นอยู่นั้นให้หายขาดได้ ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจได้ว่า ความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์เนื่องมาจากความเจ็บป่วย และคำว่าโง่เขลาเบาปัญญาก็แสดงอยู่ว่าโจทก์นั้นถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อได้ง่ายกว่าคนมีจิตปกติ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.อ.มาตรา 342(2) และป.วิ.อ.มาตรา 158(5) แล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2526)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.วิ.อ.มาตรา 158(5) มีหลักว่า “ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี” การบรรยายฟ้องของโจทก์ข้างต้น นอกจากโจทก์จะได้กล่าวในฟ้องในตอนต้นและตอนท้ายว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์อาศัยความโง่เขลาเบาปัญญาและความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์แล้ว โจทก์ยังบรรยายข้อความที่จำเลยหลอกลวงโจทก์อีกว่า เหล็กไหลสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่โจทก์กำลังเป็นอยู่นั้นให้หายขาดได้ ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจได้ว่า ความอ่อนแอแห่งจิตของโจทก์เนื่องมาจากความเจ็บป่วย และคำว่าโง่เขลาเบาปัญญาก็แสดงอยู่ว่าโจทก์นั้นถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อได้ง่ายกว่าคนมีจิตปกติ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.อ.มาตรา 342(2) และป.วิ.อ.มาตรา 158(5) แล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2526)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ