แกล้งตายเพื่อหนีหนี้จนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทำลายสัญญากู้ยืมเงินตามข้อตกลง
แกล้งตายเพื่อหนีหนี้จนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทำลายสัญญากู้ยืมเงินตามข้อตกลง
220 Views
การเป็นหนี้คือความทุกข์อย่างหนึ่ง และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงคนจนเท่านั้น แต่คนรวยก็อาจเป็นหนี้ได้เช่นเดียวกันเพราะต้องก่อหนี้เพื่อการลงทุนในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวยก็อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องเป็นหนี้และมีความทุกข์ไม่แตกต่างกัน เมื่อเป็นหนี้แล้วลูกหนี้ที่ดีย่อมจะต้องขวนขวายหาเงินมาใช้หนี้ แต่ก็มีลูกหนี้อีกเป็นจำนวนมากที่พยายามจะหาวิธีในการที่จะไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จึงมีคำถามว่า การที่ลูกหนี้ทราบว่าเจ้าหนี้อยู่ระหว่างการใช้สิทธิดำเนินคดีทางศาล จึงให้เพื่อนแกล้งปล่อยข่าวในเฟซบุ๊กว่าลูกหนี้ได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้ให้ทำลายสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่เจ้าหนี้เก็บไว้ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาว่า “หากลูกหนี้เสียชีวิต เจ้าหนี้จะทำลายสัญญากู้ยืมเงินและยกให้หนี้ให้โดยจะไม่เรียกร้องเอากับทายาทของลูกหนี้อีกต่อไป” จนเป็นเหตุให้เจ้าหนี้หลงเชื่อว่าลูกหนี้ถึงแก่ความตายจริงและทำลายสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าว ลูกหนี้จะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้, ความผิดฐานแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2) หรือไม่
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ.มาตรา 350 มีหลักว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามปัญหา การที่ลูกหนี้ให้เพื่อนแกล้งปล่อยข่าวในเฟซบุ๊กว่าลูกหนี้ได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้นั้น แม้จะกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ซึ่งอยู่ระหว่างการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลได้รับชำระหนี้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้มีการย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์ใดไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเองเป็นหนี้อันไม่เป็นความจริง จึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ นอกจากนี้ แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ แต่ก็ไม่เป็นประเด็นที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 384 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2) อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหนี้ทำลายสัญญากู้ยืมเงินซึ่งถือเป็นเอกสารสิทธิอย่างหนึ่ง ลูกหนี้จึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
Facebook สะกดว่า เฟซบุ๊ก / ไม่ใช่ เฟสบุ๊ค X
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ.มาตรา 350 มีหลักว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามปัญหา การที่ลูกหนี้ให้เพื่อนแกล้งปล่อยข่าวในเฟซบุ๊กว่าลูกหนี้ได้รับอุบัติเหตุถึงแก่ความตายเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้นั้น แม้จะกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ซึ่งอยู่ระหว่างการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลได้รับชำระหนี้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้มีการย้าย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์ใดไปให้แก่ผู้อื่น หรือแกล้งให้ตนเองเป็นหนี้อันไม่เป็นความจริง จึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ นอกจากนี้ แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ แต่ก็ไม่เป็นประเด็นที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 384 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(2) อย่างไรก็ดี การกระทำดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าหนี้ทำลายสัญญากู้ยืมเงินซึ่งถือเป็นเอกสารสิทธิอย่างหนึ่ง ลูกหนี้จึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
Facebook สะกดว่า เฟซบุ๊ก / ไม่ใช่ เฟสบุ๊ค X
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ