ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจากความบกพร่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์
ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจากความบกพร่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์
351 Views
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) หมายถึง “ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึกคล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้” ในความเป็นจริงนั้น AI ไม่ได้มีเพียงส่วนประกอบที่เป็นอัลกอริทึมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูล (Data) ชุดข้อมูล (Database) รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่นำมาใช้ร่วมกันในการประมวลผล โดยในปัจจุบัน AI ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเรามากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โดรน (Drones) หรือ รถยนต์อัจฉริยะ (Autonomous vehicles) เป็นต้น จึงมีคำถามว่า ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจากความบกพร่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์
ป.พ.พ.มาตรา 437 มีหลักว่า “บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย” ซึ่งคำว่าทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 138 นั้นหมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น แม้ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นเพียงระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์และจะมีรูปร่างหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็ยังสามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งในเรื่องละเมิดให้ผู้ที่ครอบครอง หรือควบคุมยานพาหนะ หรือทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นให้ต้องรับผิดได้ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยก็ยังอาจฟ้องร้องผู้ประกอบการทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product liability) และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตามได้อีกด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
Credit: นิยามคำศัพท์ของคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 437 มีหลักว่า “บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใด ๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงบุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นด้วย” ซึ่งคำว่าทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 138 นั้นหมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ดังนั้น แม้ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นเพียงระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์และจะมีรูปร่างหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็ยังสามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งในเรื่องละเมิดให้ผู้ที่ครอบครอง หรือควบคุมยานพาหนะ หรือทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ หรือโดยความมุ่งหมายที่จะใช้ หรือโดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นให้ต้องรับผิดได้ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยก็ยังอาจฟ้องร้องผู้ประกอบการทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product liability) และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตามได้อีกด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
Credit: นิยามคำศัพท์ของคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ