นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ได้ใช้สิทธิหรือไม่
นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ได้ใช้สิทธิหรือไม่
361 Views
ในช่วงเวลาใกล้สิ้นปีแบบนี้ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาล เรื่องเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ทำให้หลายคนอาจเริ่มวางแผนพักผ่อนในการเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือแม้แต่การหยุดพักผ่อนอยู่บ้าน เพื่อเติมพลัง และให้รางวัลกับตัวเองที่ทำงานหนักมาทั้งปี การที่จะใช้วันหยุดต่อเนื่องที่มีระยะเวลาหลายวันเช่นนี้ สำหรับลูกจ้างแล้วคงหนีไม่พ้นกับการขอใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “วันลาพักร้อน” อย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี พวกเราหลายคนอาจไม่ได้ใช้สิทธิลาพักร้อน เพราะงานยุ่งจนไม่สามารถจะจัดสรรเวลาของตัวเองได้ หรือมีความกังวลว่าจะมีงานเข้ามาในช่วงที่ลาไปจนทำให้รู้สึกหมดสนุก จึงมีคำถามว่า นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนให้แก่ลูกจ้างที่ไม่ได้ใช้สิทธิหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 มีหลักว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้” และมาตรา 64 มีหลักว่า “ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 และมาตรา 63 เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด” และในส่วนบทกำหนดโทษ มาตรา 146 มีหลักว่า “นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม........มาตรา 30 ว.1..........ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท” จากหลักกฎหมายดังกล่าว มีความหมายว่า นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน แต่ลูกจ้างจะมีสิทธิดังกล่าวได้จะต้องทำงานในปีแรกครบ 1 ปีแล้ว ส่วนในปีต่อไป ไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบ 1 ปีอีก ก็ได้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีนั้นๆ ทั้งนี้ โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้กับลูกจ้าง ไม่ว่าจะใช้วิธีการกำหนดแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือจะใช้วิธีให้ลูกจ้างเป็นผู้นำเสนอก่อนแล้วนายจ้างเป็นผู้อนุมัติก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด นายจ้างย่อมมีความผิด และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และขณะเดียวกันก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 64 อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างแล้ว แต่ลูกจ้างไม่ใช้สิทธิหยุดเอง ย่อมถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ นายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง แต่หากนายจ้างไม่ได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้าง แต่มีข้อบังคับระบุไว้ว่า ถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลา ให้ถือว่าสละสิทธิ ข้อบังคับดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมาย และไม่สามารถใช้บังคับได้ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง โดยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2542, 2816/2529 และ 8661/2547)
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 มีหลักว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสม และเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้” และมาตรา 64 มีหลักว่า “ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 และมาตรา 63 เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด” และในส่วนบทกำหนดโทษ มาตรา 146 มีหลักว่า “นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม........มาตรา 30 ว.1..........ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท” จากหลักกฎหมายดังกล่าว มีความหมายว่า นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน แต่ลูกจ้างจะมีสิทธิดังกล่าวได้จะต้องทำงานในปีแรกครบ 1 ปีแล้ว ส่วนในปีต่อไป ไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบ 1 ปีอีก ก็ได้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีนั้นๆ ทั้งนี้ โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดให้กับลูกจ้าง ไม่ว่าจะใช้วิธีการกำหนดแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือจะใช้วิธีให้ลูกจ้างเป็นผู้นำเสนอก่อนแล้วนายจ้างเป็นผู้อนุมัติก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด นายจ้างย่อมมีความผิด และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และขณะเดียวกันก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 64 อีกด้วย อย่างไรก็ดี หากนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้างแล้ว แต่ลูกจ้างไม่ใช้สิทธิหยุดเอง ย่อมถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ นายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง แต่หากนายจ้างไม่ได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้กับลูกจ้าง แต่มีข้อบังคับระบุไว้ว่า ถ้าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลา ให้ถือว่าสละสิทธิ ข้อบังคับดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมาย และไม่สามารถใช้บังคับได้ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง โดยสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9)
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2542, 2816/2529 และ 8661/2547)