การเผยแพร่ข่าวที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัว
การเผยแพร่ข่าวที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัว
353 Views
การที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งสื่ออื่นๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น มาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุชื่อของผู้เสียหาย จะอ้างว่าเป็นข่าวที่ได้มาจากการที่ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำผิดได้หรือไม่ และการกระทำดังกล่าวเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงซึ่งผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 หรือไม่
แม้สื่อมวลชนจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใดๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่สื่อมวลชนนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งสื่ออื่นๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือผู้เสียหาย ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้เสียหายแล้ว การที่ผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่างๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าเป็นการยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ การกระทำดังกล่าวของสื่อมวลชนจึงเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 ผู้เสียหายจึงไม่อาจเรียกให้รับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้สื่อมวลชนจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใดๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น การที่สื่อมวลชนนำข่าวการมีเพศสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งซึ่งสื่ออื่นๆ เคยนำเสนอภาพและข่าวไปก่อนหน้านั้น แต่ยังไม่ได้ระบุว่าชายหญิงในภาพเป็นใครมาเผยแพร่ซ้ำโดยระบุในเนื้อข่าวว่า ชายในภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักคือผู้เสียหาย ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้เสียหายแล้ว การที่ผู้เสียหายต้องแจ้งชื่อ ลักษณะแห่งความผิดและพฤติการณ์ต่างๆ ต่อพนักงานสอบสวนเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียหายต้องกระทำในการร้องทุกข์กล่าวโทษ จะถือว่าเป็นการยินยอมเปิดเผยชื่อและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณชนหาได้ไม่ การกระทำดังกล่าวของสื่อมวลชนจึงเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่มิใช่เป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม มาตรา 423 ผู้เสียหายจึงไม่อาจเรียกให้รับผิดในความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณและความเสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของตนโดยประการอื่นตามมาตรา 423 ได้ คงเรียกได้เฉพาะค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2558)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ