“ผู้จัดการมรดกร่วม” กับ “หนังสือรับสภาพหนี้”
“ผู้จัดการมรดกร่วม” กับ “หนังสือรับสภาพหนี้”
41 Views
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อบุคคลใดเสียชีวิตและต้องจัดการมรดก จะต้องมีการร้องขอต่อศาลให้ตั้งทายาท หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หรือบุคคลภายนอกที่เจ้ามรดกหรือทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียเห็นสมควรซึ่งแสดงออกโดยพินัยกรรมหรือการตกลงกัน เป็นผู้จัดการมรดก เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย 4 ประการ คือ 1. รวบรวมทรัพย์สินและหนี้สิน 2. จัดการทรัพย์มรดก 3. จัดแบ่งทรัพย์มรดก และ 4. ยื่นภาษีเงินได้ในปีแรกที่เสียชีวิต (ในนามของผู้เสียชีวิต) และในปีถัดจากปีที่เสียชีวิต เมื่อกองมรดกหนึ่งอาจมีผู้จัดการมรดกได้หลายคน จึงมีคำถามว่า การที่ผู้จัดการมรดกร่วมคนหนึ่งลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ ในฐานะเจ้าหนี้และผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียว โดยผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งรู้เห็น แต่มิได้ร่วมลงชื่อด้วย หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับแก่ลูกหนี้ได้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1726 มีหลักว่า “ถ้าผู้จัดการมรดกมีหลายคน การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นต้องถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด” จากหลักกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนตามมาตรา 1726 นั้น ผู้จัดการมรดกจะต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน การที่ผู้จัดการมรดกร่วมคนหนึ่งลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ในฐานะเจ้าหนี้และผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียว โดยผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งรู้เห็นยินยอมก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ประกอบกับการทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็มิใช่การทำสัญญา หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง ส่วนเจ้าหนี้หาจำต้องเป็นคู่สัญญาด้วยไม่ เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้ามรดก แม้ผู้จัดการมรดกจะมิได้ลงชื่อด้วยหรือลงชื่อแต่เพียงผู้เดียว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและใช้บังคับแก่ลูกหนี้ผู้ยอมรับสภาพหนี้ได้
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ. มาตรา 1726 มีหลักว่า “ถ้าผู้จัดการมรดกมีหลายคน การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นต้องถือเอาเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด” จากหลักกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนตามมาตรา 1726 นั้น ผู้จัดการมรดกจะต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน การที่ผู้จัดการมรดกร่วมคนหนึ่งลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ในฐานะเจ้าหนี้และผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียว โดยผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งรู้เห็นยินยอมก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ประกอบกับการทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็มิใช่การทำสัญญา หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง ส่วนเจ้าหนี้หาจำต้องเป็นคู่สัญญาด้วยไม่ เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้ามรดก แม้ผู้จัดการมรดกจะมิได้ลงชื่อด้วยหรือลงชื่อแต่เพียงผู้เดียว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและใช้บังคับแก่ลูกหนี้ผู้ยอมรับสภาพหนี้ได้
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ