การห้ามฟ้องซ้ำในคดีอาญา (Double jeopardy)

212 Views
ในกรณีที่คดีอาญาเรื่องก่อนได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ต่อมา มีการนำคดีอาญาที่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันมาฟ้องต่อศาลอีก ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่
 
- ป.วิ.อ. มาตรา 39 มีหลักว่า “สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้ (4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง” ซึ่งคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด หมายถึง คำพิพากษาศาลชั้นต้น อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมิได้ต้องห้ามนำคดีอาญาที่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกันมาฟ้องต่อศาลอีกเพราะมูลความแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน ดังนั้น แม้คู่ความและประเด็นแห่งคดีจะเป็นชุดเดียวกันก็ตาม ก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาก่อนหน้านั้นมาใช้เป็นบทตัดสำนวนในคดีอาญาที่กำลังพิจารณาอยู่ได้ ศาลจึงต้องเปิดโอกาสให้มีการนำสืบข้อเท็จจริงด้วยพยานหลักฐานอย่างเต็มที่เพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย ทั้งนี้ เพราะคำพิพากษาของศาลในคดีก่อนมีสถานะเป็นเพียง “พยานบอกเล่า” ในคดีอาญาที่กำลังพิจารณาอยู่เท่านั้น และในการพิพากษาคดีอาญาหาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาในคดีอื่นดังเช่นที่บัญญัติไว้สำหรับคดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ไม่ เพราะในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง และจะไม่พิพากษาลงโทษจำเลยจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น
 
# การห้ามฟ้องซ้ำในคดีอาญา (Double jeopardy) มีหลักว่า บุคคลไม่ควรได้รับความเดือนร้อนซ้ำสอง สำหรับการกระทำครั้งเดียว
 
# คำว่า “กฎหมาย” ใช้ ฎ ชฎา ไม่ใช่ ฏ ปฏัก
 
# (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2525)
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ