“การตั้งคำถาม” เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่
“การตั้งคำถาม” เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่
81 Views
คำกล่าวที่ว่า “คนโง่เก็บใจไว้ที่ลิ้น ส่วนคนฉลาดจะเก็บลิ้นไว้ที่ใจ” นั้น เป็นข้อคิดเตือนใจให้ระวังคำพูดของตนเอง เพราะหากพูดไม่ดี หรือทำให้ผู้อื่นเสียหายแล้ว ก็เท่ากับการประจานตนเองและผู้พูดอาจถูกดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ เมื่อการใส่ความผู้อื่นจะต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง จึงมีคำถามว่า “การตั้งคำถาม” เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้หรือไม่
- ป.อ.มาตรา 326 มีหลักว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และมาตรา 328 มีหลักว่า “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้จะเป็นการตั้งคำถาม แต่หากมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลที่สามที่ได้ทราบข้อความเข้าใจหรือทราบว่าเป็นบุคคลใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ตอบคำถาม (แม้จะไม่ได้ตอบคำถาม หรือยังไม่ได้ตอบคำถาม) ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้ตั้งคำถามก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้เช่นกัน เช่น ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถูกถามเคยถูกจำคุกในข้อหาลักทรัพย์มาก่อน แต่แกล้งถามในที่ประชุมว่า “ถูกจำคุกในข้อหาอะไร” หรือ กรณีพิธีกรในงานฉลองมงคลสมรสซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าสาวเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน และขณะแต่งงานนี้ตั้งครรภ์ได้ 5 เดือนแล้ว แต่กลับถามเจ้าสาวบนเวทีว่า “เคยมีสามีมาก่อนใช่หรือไม่” หรือ “ท้องก่อนแต่งใช่หรือไม่” เป็นต้น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2482)
# สำหรับการด่าผู้อื่นด้วยถ้อยคำหยาบคายโดยการเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น “ไอ้เหี้ย” “ไอ้สัตว์” “ไอ้ควาย” “ไอ้สันดานหมา” หรือ “อีด้วงสาคู”นั้น แม้จะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ก็มีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้ถูกด่าว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์สี่เท้า ถ้อยคำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้ถูกด่า มีความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตาม ป.อ.มาตรา 393 (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
- ป.อ.มาตรา 326 มีหลักว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และมาตรา 328 มีหลักว่า “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้จะเป็นการตั้งคำถาม แต่หากมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลที่สามที่ได้ทราบข้อความเข้าใจหรือทราบว่าเป็นบุคคลใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ตอบคำถาม (แม้จะไม่ได้ตอบคำถาม หรือยังไม่ได้ตอบคำถาม) ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้ตั้งคำถามก็มีความผิดฐานหมิ่นประมาทได้เช่นกัน เช่น ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ถูกถามเคยถูกจำคุกในข้อหาลักทรัพย์มาก่อน แต่แกล้งถามในที่ประชุมว่า “ถูกจำคุกในข้อหาอะไร” หรือ กรณีพิธีกรในงานฉลองมงคลสมรสซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าสาวเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน และขณะแต่งงานนี้ตั้งครรภ์ได้ 5 เดือนแล้ว แต่กลับถามเจ้าสาวบนเวทีว่า “เคยมีสามีมาก่อนใช่หรือไม่” หรือ “ท้องก่อนแต่งใช่หรือไม่” เป็นต้น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2482)
# สำหรับการด่าผู้อื่นด้วยถ้อยคำหยาบคายโดยการเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น “ไอ้เหี้ย” “ไอ้สัตว์” “ไอ้ควาย” “ไอ้สันดานหมา” หรือ “อีด้วงสาคู”นั้น แม้จะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ก็มีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้ถูกด่าว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์สี่เท้า ถ้อยคำดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้ถูกด่า มีความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตาม ป.อ.มาตรา 393 (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ