การชักดาบค่าเซ็กซ์โฟนจะมีความผิดหรือไม่
การชักดาบค่าเซ็กซ์โฟนจะมีความผิดหรือไม่
402 Views
ปัจจุบันสื่อออนไลน์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมทางเพศของผู้ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ในบรรดาการสื่อสารเหล่านั้น “เซ็กซ์โฟน” ถือเป็นกิจกรรมทางเพศที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถสื่อถึงภาษากายและน้ำเสียงของคู่สนทนาได้อย่างรวดเร็ว และบางกรณีอาจเป็นการตกลงระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เมื่อการสนทนาดังกล่าวเกิดขึ้นจากความสมัครใจและอาจเปรียบได้กับสัญญาจ้างทำของประเภทหนึ่ง จึงมีคำถามว่า การชักดาบค่าเซ็กซ์โฟนจะมีความผิดหรือไม่
# เซ็กซ์โฟน (Sex phone) เป็นการจำลองการมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์การสื่อสารอื่น ๆ ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทางเพศในลักษณะของการบรรยาย การสร้างจินตนาการ หรือมีการโต้ตอบเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของคู่สนทนา เป็นต้น ปัจจุบันในหลายประเทศเซ็กซ์โฟนได้กลายเป็นธุรกิจการให้บริการผ่านทางโทรศัพท์และถูกนำมาใช้เป็นทางออกหนึ่งของการลดปัญหาอาชญากรรม การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และการควบคุมโรคติดต่อร้ายแรงในสังคม # สำหรับประเทศไทยเซ็กซ์โฟนระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการถือเป็นการกระทำเพื่อความประสงค์ทางการค้าหรือโดยการค้าเผยแพร่สิ่งอื่นใดอันลามก ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตาม ป.อ.มาตรา 287 (1) แต่ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (4) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะแม้จะเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก แต่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงและมีความประสงค์จะให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ประชาชนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้ # อย่างไรก็ดี เมื่อการแสดงเจตนาระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 จึงไม่อาจเรียกร้องให้ผู้รับบริการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย # แต่ในทางกลับกัน หากมีการชำระค่าบริการไปแล้ว ผู้รับบริการย่อมไม่อาจเรียกคืนค่าบริการดังกล่าวได้เพราะถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าผู้รับบริการชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการชำระหนี้อันฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่อาจเรียกร้องเงินคืนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 และ 411 ด้วยเหตุดังกล่าว การชักดาบค่าเซ็กซ์โฟนจึงไม่มีความผิดตามกฎหมาย
# การซื้อบริการทางเพศ, หวยใต้ดิน หรือการพนัน ไม่ก่อให้เกิดมูลหนี้ใด ๆ ต่อกัน จึงเรียกร้องให้ชำระหนี้ไม่ได้เช่นกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
# เซ็กซ์โฟน (Sex phone) เป็นการจำลองการมีเพศสัมพันธ์ด้วยการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์การสื่อสารอื่น ๆ ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องทางเพศในลักษณะของการบรรยาย การสร้างจินตนาการ หรือมีการโต้ตอบเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของคู่สนทนา เป็นต้น ปัจจุบันในหลายประเทศเซ็กซ์โฟนได้กลายเป็นธุรกิจการให้บริการผ่านทางโทรศัพท์และถูกนำมาใช้เป็นทางออกหนึ่งของการลดปัญหาอาชญากรรม การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และการควบคุมโรคติดต่อร้ายแรงในสังคม # สำหรับประเทศไทยเซ็กซ์โฟนระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการถือเป็นการกระทำเพื่อความประสงค์ทางการค้าหรือโดยการค้าเผยแพร่สิ่งอื่นใดอันลามก ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตาม ป.อ.มาตรา 287 (1) แต่ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (4) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะแม้จะเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก แต่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงและมีความประสงค์จะให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้เท่านั้น ประชาชนทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้ # อย่างไรก็ดี เมื่อการแสดงเจตนาระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 จึงไม่อาจเรียกร้องให้ผู้รับบริการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย # แต่ในทางกลับกัน หากมีการชำระค่าบริการไปแล้ว ผู้รับบริการย่อมไม่อาจเรียกคืนค่าบริการดังกล่าวได้เพราะถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าผู้รับบริการชำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการชำระหนี้อันฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่อาจเรียกร้องเงินคืนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 และ 411 ด้วยเหตุดังกล่าว การชักดาบค่าเซ็กซ์โฟนจึงไม่มีความผิดตามกฎหมาย
# การซื้อบริการทางเพศ, หวยใต้ดิน หรือการพนัน ไม่ก่อให้เกิดมูลหนี้ใด ๆ ต่อกัน จึงเรียกร้องให้ชำระหนี้ไม่ได้เช่นกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ