การที่ผู้กู้ตกลงยินยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ผู้กู้จะถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ และบุคคลอื่นมีสิทธิที่จะกล่าวโทษแทนผู้กู้ได้หรือไม่
การที่ผู้กู้ตกลงยินยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ผู้กู้จะถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ และบุคคลอื่นมีสิทธิที่จะกล่าวโทษแทนผู้กู้ได้หรือไม่
786 Views
ปัจจุบันแอปพลิเคชั่นกู้เงินกลับกลายเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพหลอกปล่อยเงินกู้นอกระบบซึ่งมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จนนำมาสู่การแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ให้กู้ในความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 จึงมีคำถามว่า การที่ผู้กู้ตกลงยินยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด ผู้กู้จะถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ และบุคคลอื่นมีสิทธิที่จะกล่าวโทษแทนผู้กู้ได้หรือไม่
ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. ม.2(4) หมายถึง “ผู้ที่ไม่มีส่วนในการกระทำผิด หรือไม่เป็นผู้ใช้ หรือสนับสนุน หรือรู้เห็นในการกระทำผิด หรือการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดต่อกฎหมายนั้นด้วย” ส่วนคำกล่าวโทษตามป.วิ.อ. ม.2(8) หมายถึง “การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น ความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 เป็นความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ว.2 แม้ผู้กู้จะเป็นผู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดซึ่งถือว่าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ก็ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนในความผิดดังกล่าว เมื่อมีบุคคลอื่นมากล่าวโทษ การที่ผู้กู้จะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญของการสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20395/2555)
ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. ม.2(4) หมายถึง “ผู้ที่ไม่มีส่วนในการกระทำผิด หรือไม่เป็นผู้ใช้ หรือสนับสนุน หรือรู้เห็นในการกระทำผิด หรือการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดต่อกฎหมายนั้นด้วย” ส่วนคำกล่าวโทษตามป.วิ.อ. ม.2(8) หมายถึง “การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น ความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 เป็นความผิดต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 ว.2 แม้ผู้กู้จะเป็นผู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดซึ่งถือว่าไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ก็ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนในความผิดดังกล่าว เมื่อมีบุคคลอื่นมากล่าวโทษ การที่ผู้กู้จะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญของการสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20395/2555)