สัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยถือเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือไม่
สัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยถือเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือไม่
569 Views
สัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยถือเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือไม่ และการจำหน่ายสินค้าโดยการลดราคาลงถึง 90% ของร้านค้าทั่วไป ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยดังกล่าวหรือไม่
สัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว คือ สัญญาที่แต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ดูแลการจำหน่ายสินค้าแทนเจ้าของสินค้านั้นแต่เพียงผู้เดียวในพื้นที่ที่กำหนด เพื่อการลดความเสี่ยงทางธุรกิจและการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน แต่การจะมีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ตนได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาด (Exclusive Licensee) นั้น จะต้องทำเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 ว.2 กล่าวคือ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อร้านค้าทั่วไปมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยด้วย จึงหาจำต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวไม่ การจำหน่ายสินค้าแม้จะมีการลดราคาลงถึง 90% จึงเป็นการใช้สิทธิตามปกติในทางการค้า มิใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยดังกล่าว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2559)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
สัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว คือ สัญญาที่แต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ดูแลการจำหน่ายสินค้าแทนเจ้าของสินค้านั้นแต่เพียงผู้เดียวในพื้นที่ที่กำหนด เพื่อการลดความเสี่ยงทางธุรกิจและการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน แต่การจะมีอำนาจฟ้องผู้กระทำละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ตนได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาด (Exclusive Licensee) นั้น จะต้องทำเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 68 ว.2 กล่าวคือ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อร้านค้าทั่วไปมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในสัญญาแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยด้วย จึงหาจำต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวไม่ การจำหน่ายสินค้าแม้จะมีการลดราคาลงถึง 90% จึงเป็นการใช้สิทธิตามปกติในทางการค้า มิใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยดังกล่าว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2559)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ