บุตรนำรถยนต์ของบิดามารดามาโหลดเตี้ย ใส่สกู๊ป และติดเกจวัด แล้วนำมาแข่งขันกับรถยนต์คันอื่นบนถนนหลวง เมื่อถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บิดามารดาจะขอคืนรถยนต์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้หรือไม่
บุตรนำรถยนต์ของบิดามารดามาโหลดเตี้ย ใส่สกู๊ป และติดเกจวัด แล้วนำมาแข่งขันกับรถยนต์คันอื่นบนถนนหลวง เมื่อถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บิดามารดาจะขอคืนรถยนต์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้หรือไม่
303 Views
คำว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” ยังเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้ดีกันอยู่ในปัจจุบัน รถยนต์ก็เช่นกัน เพราะแม้ว่าจะถูกออกแบบมาให้มีหน้าตาสวยงามเพียงใด เจ้าของหรือผู้ครอบครองก็ยังมองเห็นความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์ของรถยนต์อยู่นั่นเอง เมื่อรถยนต์ได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ บิดามารดาจำนวนไม่น้อยจึงให้รถยนต์แก่บุตรไว้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวก จึงมีคำถามว่า บุตรนำรถยนต์ของบิดามารดามาโหลดเตี้ย ใส่สกู๊ป และติดเกจวัด แล้วนำมาแข่งขันกับรถยนต์คันอื่นบนถนนหลวง เมื่อถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลาง บิดามารดาจะขอคืนรถยนต์โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงได้หรือไม่
หลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยนั้น หมายถึง นอกจากจะให้พิจารณาสั่งคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้ว ต้องพิจารณาว่าผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงนั้นจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยประกอบด้วย การที่บิดามารดามอบหมายให้บุตรใช้และครอบครองดูแลรถยนต์ของกลางโดยไม่คำนึงว่าจะนำไปใช้ในกิจการใด สภาพรถยนต์ของกลางมีลักษณะโหลดเตี้ยกระโปรงหน้ารถตกแต่งให้มีช่องระบายอากาศและมีการติดตั้งเกจวัดที่คอนโซลหน้ารถซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แสดงผลการทำงานของเครื่องยนต์ใช้สำหรับรถยนต์ที่มีการปรับแต่งเครื่องยนต์หรือใช้สำหรับการแข่งขัน บิดามารดาย่อมต้องทราบดีว่าบุตรนำรถยนต์ของกลางไปตกแต่งเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาได้ห้ามปราม เมื่อบุตรนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือได้ว่าบิดามารดามีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของบุตร จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2550 และ 2259/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
หลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 36 ที่บัญญัติให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยนั้น หมายถึง นอกจากจะให้พิจารณาสั่งคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงแล้ว ต้องพิจารณาว่าผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงนั้นจะต้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยประกอบด้วย การที่บิดามารดามอบหมายให้บุตรใช้และครอบครองดูแลรถยนต์ของกลางโดยไม่คำนึงว่าจะนำไปใช้ในกิจการใด สภาพรถยนต์ของกลางมีลักษณะโหลดเตี้ยกระโปรงหน้ารถตกแต่งให้มีช่องระบายอากาศและมีการติดตั้งเกจวัดที่คอนโซลหน้ารถซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แสดงผลการทำงานของเครื่องยนต์ใช้สำหรับรถยนต์ที่มีการปรับแต่งเครื่องยนต์หรือใช้สำหรับการแข่งขัน บิดามารดาย่อมต้องทราบดีว่าบุตรนำรถยนต์ของกลางไปตกแต่งเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาได้ห้ามปราม เมื่อบุตรนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมถือได้ว่าบิดามารดามีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของบุตร จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2550 และ 2259/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ