กฎหมายไทยอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้สัญชาติไทยถือสองสัญชาติ (Dual Citizenship) ได้หรือไม่
กฎหมายไทยอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้สัญชาติไทยถือสองสัญชาติ (Dual Citizenship) ได้หรือไม่
141 Views
ปัญหา “คนล้นประเทศ” คือ ปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกประเทศกําลังเผชิญอยู่ และถือเป็นปัญหาที่ทำให้หลายประเทศเริ่มมีแนวคิดกระจายคนในประเทศของตนไปยังประเทศอื่น ๆ โดยอาศัยอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าผ่านการลงทุน การทำงาน และการท่องเที่ยว เมื่อประเทศไทยมีภูมิทัศน์ของประเทศที่สวยงาม มีระบบรัฐสวัสดิการที่ดี และมีค่าครองชีพที่ไม่สูง จึงเป็นประเทศในลำดับต้น ๆ ที่คนต่างด้าวต้องการอยู่อาศัยและได้สัญชาติไทย จากเหตุผลดังกล่าว จึงมีคำถามว่า กฎหมายไทยอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้สัญชาติไทยถือสองสัญชาติ (Dual Citizenship) ได้หรือไม่
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 12 มีหลักว่า “ผู้ใดประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยมีบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทย และบุตรนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรพร้อมกับตนได้ โดยบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 10 (1) (3) (4) และ (5) ทั้งนี้ การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ให้ผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยปฏิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศไทย และเมื่อมีประกาศตามมาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยให้ไว้แก่ผู้นั้นเป็นหลักฐาน” แม้ตามหลักการของกฎหมาย บุคคลควรมีสัญชาติเดียว แต่กฎหมายก็ไม่ได้กําหนดให้คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนและได้มีการแปลงสัญชาติเป็นไทยแล้วต้องเสียสัญชาติเดิมโดยอัตโนมัติ ดังนั้น จึงทําให้บุคคลต่างด้าวบางรายที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยอาจจะยังคงมีสัญชาติเดิมอยู่ อย่างไรก็ดี หากปรากฏหลักฐานว่าผู้แปลงสัญชาติยังคงใช้สัญชาติเดิม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจถอนสัญชาติไทยของบุคคลดังกล่าวได้ตามมาตรา 19 (2)
# คนต่างด้าว (คำที่ใช้เรียก “แบบเป็นทางการ”) = คนต่างชาติ (คำที่ใช้เรียก “แบบไม่เป็นทางการ”)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 12 มีหลักว่า “ผู้ใดประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าผู้ประสงค์จะขอแปลงสัญชาติเป็นไทยมีบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทย และบุตรนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรพร้อมกับตนได้ โดยบุตรนั้นได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 10 (1) (3) (4) และ (5) ทั้งนี้ การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ให้ผู้ขอแปลงสัญชาติเป็นไทยปฏิญาณตนว่าจะมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อประเทศไทย และเมื่อมีประกาศตามมาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทยให้ไว้แก่ผู้นั้นเป็นหลักฐาน” แม้ตามหลักการของกฎหมาย บุคคลควรมีสัญชาติเดียว แต่กฎหมายก็ไม่ได้กําหนดให้คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนและได้มีการแปลงสัญชาติเป็นไทยแล้วต้องเสียสัญชาติเดิมโดยอัตโนมัติ ดังนั้น จึงทําให้บุคคลต่างด้าวบางรายที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยอาจจะยังคงมีสัญชาติเดิมอยู่ อย่างไรก็ดี หากปรากฏหลักฐานว่าผู้แปลงสัญชาติยังคงใช้สัญชาติเดิม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจถอนสัญชาติไทยของบุคคลดังกล่าวได้ตามมาตรา 19 (2)
# คนต่างด้าว (คำที่ใช้เรียก “แบบเป็นทางการ”) = คนต่างชาติ (คำที่ใช้เรียก “แบบไม่เป็นทางการ”)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ