กรณีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลจะต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความ และต้องตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ และทนายความจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือค่าใช้จ่ายหรือไม่
กรณีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลจะต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความ และต้องตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ และทนายความจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือค่าใช้จ่ายหรือไม่
634 Views
การละเมิดอำนาจศาลเป็นการกระทำละเมิดต่ออำนาจและหน้าที่ของศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาและรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลในคดีแพ่งหรือคดีอาญาอันเป็นมาตรการตามวิธีสบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะของศาล โดยศาลมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาโดยไล่ออกไปจากบริเวณศาล หรือลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับได้ จึงมีคำถามว่า กรณีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ศาลจะต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความ และต้องตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่ และทนายความจะมีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือค่าใช้จ่ายหรือไม่
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวนและไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 173 ว.2 มาใช้บังคับได้ ศาลจึงไม่จำต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความและตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลดังเช่นคดีอาญาทั่วไป และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมไม่ได้ออกระเบียบให้ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย ทนายความจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2557)
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยการไต่สวนและไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำ ป.วิ.อ. มาตรา 173 ว.2 มาใช้บังคับได้ ศาลจึงไม่จำต้องสอบถามผู้ถูกกล่าวหาเรื่องทนายความและตั้งทนายความให้ผู้ถูกกล่าวหาตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลตั้งทนายความให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลดังเช่นคดีอาญาทั่วไป และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมไม่ได้ออกระเบียบให้ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในคดีละเมิดอำนาจศาลมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย ทนายความจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2557)