การกู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ และเจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงใด
การกู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ และเจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงใด
1604 Views
แม้พวกเราทุกคนจะเข้าใจคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” ก็ตาม แต่บางครั้ง เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องขอกู้ยืมเงินมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อข้าวของและเครื่องใช้ต่างๆ ยิ่งหากเรามีความคิดที่จะลงทุนอะไรสักอย่าง ย่อมหมายถึงการที่ต้องแบกรับความเสี่ยงกับการมีหนี้ในอนาคต การใช้เงินเก็บหรือเงินส่วนตัวจึงมักจะเป็นทางเลือกสุดท้ายเสมอ ในกรณีของคนโสดคงไม่ค่อยมีปัญหาเพราะไม่จำเป็นต้องถามใคร แต่ในกรณีสมรสแล้ว จะต้องถามคู่สมรสของเราก่อนการขอกู้ยืมเงินหรือไม่ จึงมีคำถามว่า การกู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ และเจ้าหนี้จะมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงใด แอดมินมีคำตอบครับ
ป.พ.พ. มาตรา 1476 (4) มีหลักว่า “สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ ..... (4) ให้กู้ยืมเงิน” จากหลักกฎหมายดังกล่าวจึงอธิบายได้ว่า การให้กู้ยืมเงินนั้นเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส ดังนั้น “การกู้ยืมเงิน” จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง หากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (คู่สมรสผู้กู้) เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551)
ป.พ.พ. มาตรา 1476 (4) มีหลักว่า “สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้ ..... (4) ให้กู้ยืมเงิน” จากหลักกฎหมายดังกล่าวจึงอธิบายได้ว่า การให้กู้ยืมเงินนั้นเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายในการจัดการสินสมรส ดังนั้น “การกู้ยืมเงิน” จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง หากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (คู่สมรสผู้กู้) เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551)