ลักษณะตราสารการกู้ยืมเงินที่ต้องปิดอากรแสตมป์
ลักษณะตราสารการกู้ยืมเงินที่ต้องปิดอากรแสตมป์
286 Views
การที่ผู้กู้นำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองเขียนระบุข้อความว่า "เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ได้รับเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาทเรียบร้อยแล้ว" โดยมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ และพยานจำนวน 2 คน หากเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ศาลจะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอาการแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114” คำว่าตราสารดังกล่าวหมายความถึงหนังสือสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย หากเป็นเรื่องการกู้ยืม เอกสารที่จัดทำขึ้นต้องชัดเจนว่า เป็นหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความแสดงเจตนาออกว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างคู่สัญญา มีรายละเอียดแห่งข้อตกลงและคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายสัญญา ตามปัญหา สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ แม้มีข้อความถัดลงไปด้านล่างประกอบว่า "เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ได้รับเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาทเรียบร้อยแล้ว" โดยมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ และพยานจำนวน 2 คน แต่ไม่มีลายมือชื่อของผู้ให้กู้อยู่ด้วย เอกสารในลักษณะเช่นนี้คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ว.1 เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น ถึงแม้หลักฐานการกู้ยืมจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ศาลก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าผู้กู้มีการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาทได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอาการแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114” คำว่าตราสารดังกล่าวหมายความถึงหนังสือสำคัญแสดงสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมาย หากเป็นเรื่องการกู้ยืม เอกสารที่จัดทำขึ้นต้องชัดเจนว่า เป็นหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความแสดงเจตนาออกว่ามีการกู้ยืมเงินระหว่างคู่สัญญา มีรายละเอียดแห่งข้อตกลงและคู่สัญญาได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายสัญญา ตามปัญหา สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ แม้มีข้อความถัดลงไปด้านล่างประกอบว่า "เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ได้รับเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาทเรียบร้อยแล้ว" โดยมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ และพยานจำนวน 2 คน แต่ไม่มีลายมือชื่อของผู้ให้กู้อยู่ด้วย เอกสารในลักษณะเช่นนี้คงเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ว.1 เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 103, 104 และ 118 ดังนั้น ถึงแม้หลักฐานการกู้ยืมจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ศาลก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าผู้กู้มีการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้จำนวน 100,000 บาทได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ