มีคำถามว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่
มีคำถามว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อโกงธนาคาร ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง และสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้หรือไม่
392 Views
ป.วิ.อ.มาตรา 192 ว.1 ถึง ว.3 มีหลักว่า “ ว.1 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ว.2 ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ว.3 ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ ศาลจะลงโทษจำเลยเกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องนั้นไม่ได้” เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหายไป แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักเงินของผู้เสียหาย แต่ฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธนาคาร กรณีจึงเป็นความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ว.2 และไม่อาจสั่งให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2563)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2563)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ