ประเด็นเล็กๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ประเด็นเล็กๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
398 Views
หลายวันมานี้ ประเด็นเรื่องเครื่องหมายการค้ากลายเป็นข่าวที่มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ย เป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท รวมถึงชำระค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าผู้ละเมิดจะยุติการกระทำดังกล่าว ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่แอดมินต้องพิจารณาประเด็นในคดีเครื่องหมายการค้าเรื่องหนึ่งพอดี จึงมีประเด็นเล็กๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า มาเล่าสู่กันฟังนะครับ
เครื่องหมายการค้านั้น ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อมีการจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองแล้ว ต่อมา หากมีการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้จึงต้องทำเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ตามมาตรา 68 แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อาณาเขตของการได้รับความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้านั้น ใช้หลักการจดทะเบียนในประเทศที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าประสงค์จะได้รับความคุ้มครอง ดังนั้น การจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองเฉพาะในประเทศไทย จึงไม่มีผลถึงการได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดี การที่จะจดทะเบียนในทุกประเทศย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงอาจพิจารณาอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การขอรับความคุ้มครองผ่านพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) หรือความตกลงที่จัดตั้งระบบการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกผ่านสำนักระหว่างประเทศ (International Bureau หรือ IB) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้อีกทางหนึ่ง แต่การขอรับความคุ้มครองผ่านระบบดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายตามอัตราค่าเงินหลัก เช่น ฟรังก์สวิส และต้องใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสาร ขอจดทะเบียน และได้รับการอนุมัติ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมากกว่านั้น
เครื่องหมายการค้านั้น ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อมีการจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองแล้ว ต่อมา หากมีการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้จึงต้องทำเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ตามมาตรา 68 แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อาณาเขตของการได้รับความคุ้มครองของเครื่องหมายการค้านั้น ใช้หลักการจดทะเบียนในประเทศที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าประสงค์จะได้รับความคุ้มครอง ดังนั้น การจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครองเฉพาะในประเทศไทย จึงไม่มีผลถึงการได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดี การที่จะจดทะเบียนในทุกประเทศย่อมเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงอาจพิจารณาอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การขอรับความคุ้มครองผ่านพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) หรือความตกลงที่จัดตั้งระบบการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในต่างประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกผ่านสำนักระหว่างประเทศ (International Bureau หรือ IB) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ได้อีกทางหนึ่ง แต่การขอรับความคุ้มครองผ่านระบบดังกล่าวจะต้องมีค่าใช้จ่ายตามอัตราค่าเงินหลัก เช่น ฟรังก์สวิส และต้องใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสาร ขอจดทะเบียน และได้รับการอนุมัติ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมากกว่านั้น