การที่ผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดงเพื่อให้ได้รับงานจากผู้ว่าจ้าง แท้จริงแล้วธนาคารไม่ได้ออกหนังสือดังกล่าวให้ แต่ผู้รับจ้างก็ได้ทำงานให้กับผู้ว่าจ้างจริงและได้รับค่าจ้างไปแล้ว ยังจะถือว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
การที่ผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดงเพื่อให้ได้รับงานจากผู้ว่าจ้าง แท้จริงแล้วธนาคารไม่ได้ออกหนังสือดังกล่าวให้ แต่ผู้รับจ้างก็ได้ทำงานให้กับผู้ว่าจ้างจริงและได้รับค่าจ้างไปแล้ว ยังจะถือว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
282 Views
ในการประกอบธุรกิจทุกประเภท ความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติตามสัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง หลายธุรกิจจึงกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้รับงานไว้ว่าจะต้องมีการวางหลักประกัน หรือนำหนังสือค้ำประกันธนาคาร มาแสดงก่อนการรับงาน จึงมีคำถามว่า การที่ผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดงเพื่อให้ได้รับงานจากผู้ว่าจ้าง แท้จริงแล้วธนาคารไม่ได้ออกหนังสือดังกล่าวให้ แต่ผู้รับจ้างก็ได้ทำงานให้กับผู้ว่าจ้างจริงและได้รับค่าจ้างไปแล้ว ยังจะถือว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
หนังสือค้ำประกันธนาคาร Letter of Guarantee (LG) หรือ Bank Guarantee (BG) เป็นหลักประกันทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งออกโดยธนาคาร เพื่อรับรองว่ากรณีที่ลูกค้าของธนาคารมีความรับผิดในมูลหนี้และไม่สามารถชำระได้ ธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้มูลหนี้ดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ (แต่ไม่เกินจำนวนเงินค้ำประกันของธนาคารที่ระบุในหนังสือ) จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้รับจ้างประสงค์ให้ได้รับงานจึงหลอกลวงนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดงต่อผู้ว่าจ้าง แต่ความจริงแล้วธนาคารมิได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ผู้รับจ้าง อันเป็นการหลอกลวงผู้ว่าจ้าง และการหลอกลวงดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างหลงเชื่อตกลงทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างและได้ทรัพย์สินเป็นค่าจ้างจากการทำงานไป ถือว่าผู้รับจ้างกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 แล้ว แม้ภายหลังผู้รับจ้างจะเข้าทำงานจริงและได้รับค่าจ้างดังกล่าว ก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำความผิดอาญาของผู้รับจ้างที่เกิดขึ้นแล้วกลับกลายเป็นไม่มีความผิด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
หนังสือค้ำประกันธนาคาร Letter of Guarantee (LG) หรือ Bank Guarantee (BG) เป็นหลักประกันทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งออกโดยธนาคาร เพื่อรับรองว่ากรณีที่ลูกค้าของธนาคารมีความรับผิดในมูลหนี้และไม่สามารถชำระได้ ธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้มูลหนี้ดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ (แต่ไม่เกินจำนวนเงินค้ำประกันของธนาคารที่ระบุในหนังสือ) จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้รับจ้างประสงค์ให้ได้รับงานจึงหลอกลวงนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาแสดงต่อผู้ว่าจ้าง แต่ความจริงแล้วธนาคารมิได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ผู้รับจ้าง อันเป็นการหลอกลวงผู้ว่าจ้าง และการหลอกลวงดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างหลงเชื่อตกลงทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างและได้ทรัพย์สินเป็นค่าจ้างจากการทำงานไป ถือว่าผู้รับจ้างกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 แล้ว แม้ภายหลังผู้รับจ้างจะเข้าทำงานจริงและได้รับค่าจ้างดังกล่าว ก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำความผิดอาญาของผู้รับจ้างที่เกิดขึ้นแล้วกลับกลายเป็นไม่มีความผิด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6404/2560)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ