การยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนโดยกรอกจำนวนหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้นแต่ลดจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นรายอื่นลง จะมีความผิดฐานยักยอกหรือไม่
การยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนโดยกรอกจำนวนหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้นแต่ลดจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นรายอื่นลง จะมีความผิดฐานยักยอกหรือไม่
223 Views
หุ้นในบริษัทจำกัดถือเป็นทรัพย์สินของผู้ถือหุ้น และการโอนหุ้นจะต้องทำตามแบบ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนกับผู้รับโอนโดยมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วย หากไม่ทำตามแบบ การโอนหุ้นย่อมตกเป็นโมฆะ อย่างไรก็ดี การโอนหุ้นที่ไม่ถูกต้องตามแบบดังกล่าว หากผู้รับโอนหุ้นได้ครอบครองหุ้นเกิน 5 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1382 จึงมีคำถามว่า การยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนโดยกรอกจำนวนหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้นแต่ลดจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นรายอื่นลง จะมีความผิดฐานยักยอกหรือไม่
ป.อ.มาตรา 352 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามปัญหา ความผิดฐานยักยอกนั้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำความผิดครอบครองอยู่จะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือจับต้องสัมผัสได้ แต่หุ้นเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทเท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกได้ ทั้งปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเท่านั้น ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นแต่อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13089 - 13090/2558 และ 3395/2529)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด
ป.อ.มาตรา 352 ว.1 มีหลักว่า “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” ตามปัญหา ความผิดฐานยักยอกนั้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำความผิดครอบครองอยู่จะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือจับต้องสัมผัสได้ แต่หุ้นเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ในบริษัทเท่านั้น จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกได้ ทั้งปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเท่านั้น ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นแต่อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13089 - 13090/2558 และ 3395/2529)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด