การเข้าพักในโรงแรมแล้วไม่ชำระเงิน ต่อมาหากผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์เป็นคดีอาญา พนักงานอัยการจะมีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้หรือไม่
การเข้าพักในโรงแรมแล้วไม่ชำระเงิน ต่อมาหากผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์เป็นคดีอาญา พนักงานอัยการจะมีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้หรือไม่
393 Views
ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น สังคมของเราเต็มไปด้วยนักต้มตุ๋นและคนลวงโลก พฤติกรรมหลอกกินฟรี หรือการชักดาบค่าเข้าพักในโรงแรม ถือเป็นความผิดอาญาตาม ป.อ.มาตรา 345 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใดสั่งซื้อและบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือเข้าอยู่ในโรงแรม โดยรู้ว่าตนไม่สามารถชำระเงินค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม หรือค่าอยู่ในโรงแรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อย่างไรก็ดี กล่าวโดยเฉพาะ การเข้าพักในโรงแรมแล้วไม่ชำระเงิน ต่อมาหากผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์เป็นคดีอาญา พนักงานอัยการจะมีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวแทนผู้เสียหายได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.วิ.อ.มาตรา 43 มีหลักว่า “คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกงยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เงินค่าเข้าอยู่ในโรงแรมเป็นเพียงเงินค่าบริการที่ผู้เสียหายควรจะได้มาเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 345 แต่อย่างใด พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวแทนผู้เสียหาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2516)
ป.วิ.อ.มาตรา 43 มีหลักว่า “คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกงยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เงินค่าเข้าอยู่ในโรงแรมเป็นเพียงเงินค่าบริการที่ผู้เสียหายควรจะได้มาเท่านั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 345 แต่อย่างใด พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวแทนผู้เสียหาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2516)