การแอบบันทึกเสียงของคู่สนทนาจะมีความผิดหรือไม่ และคลิปบันทึกเสียง รวมทั้งเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว จะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
การแอบบันทึกเสียงของคู่สนทนาจะมีความผิดหรือไม่ และคลิปบันทึกเสียง รวมทั้งเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว จะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
341 Views
ปัจจุบันมีโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกหรือแอปพลิเคชั่นในด้านต่างๆ ออกมามากมาย ทำให้การใช้ชีวิตของพวกเราสะดวกสบายเป็นอย่างมาก ประโยชน์ของแอปพลิเคชั่นดังกล่าว เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมา ที่ทุกคนต้องทำงานหรือเรียนหนังสือจากที่บ้านเป็นหลัก นอกจากแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการประชุม หรือเพื่อความบันเทิง เช่น Zoom Microsoft Teams TikTok Facebook หรือ YouTube แล้ว แอปพลิเคชั่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ แอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการบันทึกเสียง จนกลายเป็นแอปพลิเคชั่นประจำโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนของพวกเราหลายคน อย่างไรก็ดี เป็นที่ทราบกันดีว่า การดักฟังผู้อื่นสนทนานั้น ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Right of privacy) ของผู้อื่น จึงมีคำถามว่า การแอบบันทึกเสียงของคู่สนทนาจะมีความผิดหรือไม่ และคลิปบันทึกเสียง รวมทั้งเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว จะสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.วิ.อ. มาตรา 226 มีหลักว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน” และมาตรา 226/1 มีหลักว่า “ในกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น (2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี (3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ และ (4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด” จากคำถามข้างต้น แม้การแอบบันทึกเสียงขณะที่มีการสนทนากันโดยคู่สนทนาไม่ทราบมาก่อน จะถือเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ซึ่งห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ก็ตาม แต่หลักกฎหมายดังกล่าว ใช้กับการตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบเท่านั้น แต่ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด ซึ่งกำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 เมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของคู่สนทนาเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าคลิปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 และ 2281/2555)
ป.วิ.อ. มาตรา 226 มีหลักว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน” และมาตรา 226/1 มีหลักว่า “ในกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลว่า พยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาเนื่องจากการกระทำโดยมิชอบ หรือเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่การรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย (1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น (2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี (3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ และ (4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด” จากคำถามข้างต้น แม้การแอบบันทึกเสียงขณะที่มีการสนทนากันโดยคู่สนทนาไม่ทราบมาก่อน จะถือเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ซึ่งห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ก็ตาม แต่หลักกฎหมายดังกล่าว ใช้กับการตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบเท่านั้น แต่ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด ซึ่งกำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/1 เมื่อการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของคู่สนทนาเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติคู่สนทนาทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าคลิปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาดังกล่าว เป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543 และ 2281/2555)