การที่เจ้าหนี้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าลูกหนี้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจากลูกหนี้มีพฤติการณ์ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปให้กับบุคคลอื่นนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วหรือไม่
การที่เจ้าหนี้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าลูกหนี้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจากลูกหนี้มีพฤติการณ์ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปให้กับบุคคลอื่นนั้น ถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วหรือไม่
305 Views
ป.อ. มาตรา 350 มีหลักว่า “ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของเจ้าหนี้ในความผิดฐานฉ้อโกง ย่อมนำไปสู่การฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหรือไม่ ก็มีผลเป็นการเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เจ้าหนี้นั้นสูญเสียไปจากการกระทำความผิดคืนโดยพนักงานอัยการดำเนินการแทนแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โดยไม่ต้องทวงถามหรือฟ้องคดีแพ่งเพื่อบังคับลูกหนี้ให้ชำระหนี้อีก การร้องทุกข์ของเจ้าหนี้จึงเป็นกรณีที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้เจ้าหนี้ชำระหนี้ตามความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8905/2561 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2561))
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8905/2561 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2561))