กรณีรถยนต์ที่ถูกลักแล้วถูกชำแหละเหลือแต่ซาก เมื่อผู้เสียหายได้รับอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนควบคืนแล้ว พนักงานอัยการจะขอให้คืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้หรือไม่
กรณีรถยนต์ที่ถูกลักแล้วถูกชำแหละเหลือแต่ซาก เมื่อผู้เสียหายได้รับอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนควบคืนแล้ว พนักงานอัยการจะขอให้คืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้หรือไม่
823 Views
ป.วิ.อ.มาตรา 43 มีหลักว่า “คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกงยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย” มีคำถามว่า หากเป็นกรณีรถยนต์ที่ถูกลักแล้วถูกชำแหละเหลือแต่ซาก เมื่อผู้เสียหายได้รับอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนควบคืนแล้ว พนักงานอัยการจะขอให้คืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ได้หรือไม่
รถยนต์ของผู้เสียหายถูกถอดอุปกรณ์ส่วนควบออกเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ คงเหลือซากที่เป็นรถยนต์ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมด หรือแปรเปลี่ยนนำไปเป็นของอื่น เมื่อผู้เสียหายได้รับอุปกรณ์ส่วนควบซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้คืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำรถยนต์ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2552)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
รถยนต์ของผู้เสียหายถูกถอดอุปกรณ์ส่วนควบออกเป็นอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ คงเหลือซากที่เป็นรถยนต์ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมด หรือแปรเปลี่ยนนำไปเป็นของอื่น เมื่อผู้เสียหายได้รับอุปกรณ์ส่วนควบซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้คืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำรถยนต์ไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2552)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ