คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเกินคำขอได้หรือไม่

357 Views
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2557
"โจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งหกทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล และศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งหกแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาท ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคําฟ้องก็ได้ เพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน กรณีไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคําขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคําฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันจ่ายเงินจำนวน 300,000 บาท เกินกว่าจำนวนเงิน 15,000 บาท ที่จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ต้องรับผิดตามคำขอของโจทก์ทั้งสามให้แก่โจทก์ทั้งสาม และยินยอมชำระดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และมาตรา 138(2) เมื่อจําเลยไม่อุทธรณ์ คําพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 147 ว.2 จําเลยจะยื่นคําร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคําสั่งเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มีกฎหมายใดให้จําเลยทําเช่นนั้นได้ คําสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคําร้องของจําเลยจึงชอบแล้ว"
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ