หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงหรือไม่
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงหรือไม่
450 Views
การมอบอำนาจเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของพวกเราและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ เป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ในบริษัทหนึ่ง การมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหลายคนมีอำนาจลงนามแทนกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองบริษัท หรือมอบอำนาจให้บุคคลใดไปดำเนินการติดต่อราชการ หรือแม้แต่กิจกรรมที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นการแจ้งเอกสารหาย เป็นต้น แต่ในการฟ้องคดีและดำเนินคดีต่อศาล การมอบอำนาจถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่สำคัญ และมีคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาเป็นจำนวนมาก จึงมีคำถามว่า หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงหรือไม่
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ซึ่งเรียกว่า “ผู้มอบอำนาจ” มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับมอบอำนาจ” มีอำนาจกระทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าผู้มอบอำนาจเป็นผู้กระทำการนั้นด้วยตนเอง ทั้งนี้ การมอบอำนาจให้ทำกิจการใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและดำเนินคดีต่อศาลนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นผู้ใด เพราะไม่มีกฎหมายบังคับ ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีจะมิได้ระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจง ก็เป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว # นอกจากนี้ การมอบอำนาจอาจกระทำล่วงหน้าได้ ไม่ระบุศาลก็ได้ หรืออาจมอบอำนาจช่วงด้วยก็ได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12443/2557 และ 2155/2535)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ซึ่งเรียกว่า “ผู้มอบอำนาจ” มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับมอบอำนาจ” มีอำนาจกระทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าผู้มอบอำนาจเป็นผู้กระทำการนั้นด้วยตนเอง ทั้งนี้ การมอบอำนาจให้ทำกิจการใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและดำเนินคดีต่อศาลนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นผู้ใด เพราะไม่มีกฎหมายบังคับ ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีจะมิได้ระบุชื่อบุคคลที่จะถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจง ก็เป็นการมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว # นอกจากนี้ การมอบอำนาจอาจกระทำล่วงหน้าได้ ไม่ระบุศาลก็ได้ หรืออาจมอบอำนาจช่วงด้วยก็ได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12443/2557 และ 2155/2535)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ