นายจ้างมีสิทธิกำหนดจำนวนวันลาป่วยสูงสุดในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการตัดโบนัสได้หรือไม่
นายจ้างมีสิทธิกำหนดจำนวนวันลาป่วยสูงสุดในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการตัดโบนัสได้หรือไม่
440 Views
เนื่องจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการลาป่วยและการจ่ายค่าจ้างไว้ในมาตรา 32 และมาตรา 57 โดยมีหลักว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์ได้ ทั้งนี้ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยดังกล่าวเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน” ด้วยเหตุนี้ ลูกจ้างหลายคนจึงมักจะอาศัยช่องว่างของกฎหมายขอใช้สิทธิลาป่วยแม้จะไม่ได้ป่วยจริง เพื่อเพิ่มวันหยุดพักผ่อนให้กับตนเอง ซึ่งแสดงถึงความด้อยประสิทธิภาพและความรับผิดชอบในการทำงานของลูกจ้าง อีกทั้งยังเป็นการเอาเปรียบหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานหรือเข้าประชุมแทนลูกจ้างที่ลา เมื่อกฎหมายห้ามไม่ให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีคำถามว่า นายจ้างมีสิทธิกำหนดจำนวนวันลาป่วยสูงสุดในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการตัดโบนัสได้หรือไม่
โบนัส (Bonus) เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึง สวัสดิการที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง โบนัสจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อโบนัสมาจากผลประกอบการปีต่อปีของนายจ้าง โดยใช้ผลงานและความทุ่มเทของลูกจ้างเป็นเกณฑ์ในการจ่าย เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ลูกจ้างแต่ละคนอยากสร้างผลงานที่ดีให้กับกิจการของนายจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดจำนวนวันลาป่วยสูงสุดในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการตัดโบนัสได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2544 และ 1528/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
โบนัส (Bonus) เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึง สวัสดิการที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง โบนัสจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อโบนัสมาจากผลประกอบการปีต่อปีของนายจ้าง โดยใช้ผลงานและความทุ่มเทของลูกจ้างเป็นเกณฑ์ในการจ่าย เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ลูกจ้างแต่ละคนอยากสร้างผลงานที่ดีให้กับกิจการของนายจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดจำนวนวันลาป่วยสูงสุดในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อการตัดโบนัสได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2544 และ 1528/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ