การร่วมลงทุน VS ฉ้อโกง
การร่วมลงทุน VS ฉ้อโกง
36 Views
ปัจจุบันมีคดีอาชญากรรมที่เกิดจากความโลภอยู่หลายคดี ทำให้แอดมินนึกถึงคำกลอนของสุนทรภู่ในหนังสือเรื่องพระอภัยมณีที่พระฤาษีสอนสุดสาครว่า “แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน” คำกลอนดังกล่าวเป็นการสอนให้เรารู้จักระมัดระวังและไม่เชื่อใจใครง่าย ๆ เพราะจิตใจของมนุษย์นั้นยากเกินกว่าจะคาดเดา การนำเงินไปร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นก็เช่นกัน หากต่อมาเห็นท่าไม่ดีและประสงค์จะได้เงินคืนแต่ผู้ที่รับเงินไปแล้วปฏิเสธที่จะคืนเงิน จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นการร่วมลงทุนหรือฉ้อโกง แอด
ป.พ.พ.มาตรา 1012 มีหลักว่า “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” ดังนั้น สาระสำคัญของการร่วมลงทุนก็คือต้องมีการลงทุนร่วมกันและมีการแบ่งปัน “ผลกำไร” ที่ได้จากกิจการนั้น แต่หากมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น เช่น ตกลงว่าจะแบ่งค่าตอบแทนให้เป็นรายเดือนมีอัตราที่แน่นอน หรือแบ่งรายได้ หรือผลผลิตที่ได้จากกิจการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน ย่อมไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน แต่จะเข้าลักษณะนิติกรรมประเภทอื่นซึ่งเป็นการให้ค่าตอบแทนจากการที่ให้เงินไปลงทุนทำกิจการ หรืออาจถือได้ว่าเป็นนิติกรรมไม่มีชื่อประเภทหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หรืออาจเป็นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น หากต่อมาประสงค์จะเรียกเงินคืนตามสัญญาแต่อีกฝ่ายปฏิเสธที่จะคืนเงินจึงเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีเจตนาที่จะประกอบธุรกิจหรือปฏิบัติตามสัญญากันตั้งแต่ต้น เพียงแต่มีเจตนาที่จะหลวงลวงเงินจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นเพียงการระดมเงินทุนจากเหยื่อแต่มิได้มีการให้ผลตอบแทนอย่างแท้จริง กรณีนี้ย่อมมีความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343 แล้วแต่กรณี และอาจมีความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งและนำไปสู่ความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้อีกด้วย
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 1012 มีหลักว่า “อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” ดังนั้น สาระสำคัญของการร่วมลงทุนก็คือต้องมีการลงทุนร่วมกันและมีการแบ่งปัน “ผลกำไร” ที่ได้จากกิจการนั้น แต่หากมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น เช่น ตกลงว่าจะแบ่งค่าตอบแทนให้เป็นรายเดือนมีอัตราที่แน่นอน หรือแบ่งรายได้ หรือผลผลิตที่ได้จากกิจการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน ย่อมไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน แต่จะเข้าลักษณะนิติกรรมประเภทอื่นซึ่งเป็นการให้ค่าตอบแทนจากการที่ให้เงินไปลงทุนทำกิจการ หรืออาจถือได้ว่าเป็นนิติกรรมไม่มีชื่อประเภทหนึ่งซึ่งใช้บังคับได้ตามกฎหมาย หรืออาจเป็นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น หากต่อมาประสงค์จะเรียกเงินคืนตามสัญญาแต่อีกฝ่ายปฏิเสธที่จะคืนเงินจึงเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีเจตนาที่จะประกอบธุรกิจหรือปฏิบัติตามสัญญากันตั้งแต่ต้น เพียงแต่มีเจตนาที่จะหลวงลวงเงินจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นเพียงการระดมเงินทุนจากเหยื่อแต่มิได้มีการให้ผลตอบแทนอย่างแท้จริง กรณีนี้ย่อมมีความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343 แล้วแต่กรณี และอาจมีความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งและนำไปสู่ความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ได้อีกด้วย
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ