หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ ถือเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ และการใช้ข้อมูลดังกล่าวบนบัตรของผู้อื่นเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ถือเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นหรือไม่
หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ ถือเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ และการใช้ข้อมูลดังกล่าวบนบัตรของผู้อื่นเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ถือเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นหรือไม่
645 Views
ปัจจุบันบัตรเครดิตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถใช้แทนเงินสด ในการใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ นอกจากประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือบัตรแล้ว บัตรเครดิตอาจกลายเป็นเครื่องมือในการก่อภาระหนี้ให้แก่เจ้าของบัตรได้โดยไม่รู้ตัว ในทางกฎหมาย บัตรเครดิตถือเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่ง จึงมีคำถามว่า ข้อมูลซึ่งปรากฏอยู่บนบัตรเครดิตนั้น ถือเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยหรือไม่ และการใช้ข้อมูลดังกล่าวบนบัตรของผู้อื่นเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ถือเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นด้วยหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
บัตรเครดิตถือเป็น “บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ตามบทนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1(14) (ก) เนื่องจากผู้ออกได้ออกเอกสารคือบัตรเครดิตให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมีการบันทึกข้อมูลในชิปการ์ดและเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นวิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ส่วนข้อมูลบัตรเครดิต ได้แก่ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ เมื่อปรากฏอยู่บนบัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ถือว่าเป็นกรณีที่มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ จึงไม่เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามบทนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1 (14) (ข) อย่างไรก็ดี ป.อ. มาตรา 1 (14) เป็นเพียงบทนิยามว่า สิ่งใดเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตาม ป.อ. แต่มิได้ระบุเกี่ยวกับวิธีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นวิธีการใช้โดยทั่วไปของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้นหรือไม่ โดยไม่จำกัดว่า หากเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1 (14) (ก) แล้ว การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นการใช้เอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ผู้ออกให้โดยตรงเท่านั้น แสดงว่าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม ป.อ. มาตรา 1 (14) (ก) ย่อมสามารถใช้เฉพาะข้อมูลหรือรหัสได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน การกรอกข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดผ่านทางเว็บไซต์โดยผู้รับชำระไม่ต้องเห็นบัตรเครดิต เป็นวิธีการใช้บัตรเครดิตโดยทั่วไปวิธีหนึ่ง การที่นำข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ ไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางเว็บไซต์ จึงเป็นการใช้บัตรเครดิตแล้ว จึงมีความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นที่ออกให้เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 269/5 ประกอบ มาตรา 269/7
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2564)
บัตรเครดิตถือเป็น “บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ตามบทนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1(14) (ก) เนื่องจากผู้ออกได้ออกเอกสารคือบัตรเครดิตให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมีการบันทึกข้อมูลในชิปการ์ดและเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นวิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ส่วนข้อมูลบัตรเครดิต ได้แก่ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ เมื่อปรากฏอยู่บนบัตรเครดิตซึ่งเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ถือว่าเป็นกรณีที่มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ จึงไม่เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามบทนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1 (14) (ข) อย่างไรก็ดี ป.อ. มาตรา 1 (14) เป็นเพียงบทนิยามว่า สิ่งใดเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตาม ป.อ. แต่มิได้ระบุเกี่ยวกับวิธีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ การวินิจฉัยว่าการกระทำใดเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นวิธีการใช้โดยทั่วไปของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้นหรือไม่ โดยไม่จำกัดว่า หากเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามนิยามแห่ง ป.อ. มาตรา 1 (14) (ก) แล้ว การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะต้องเป็นการใช้เอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ผู้ออกให้โดยตรงเท่านั้น แสดงว่าบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม ป.อ. มาตรา 1 (14) (ก) ย่อมสามารถใช้เฉพาะข้อมูลหรือรหัสได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน การกรอกข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดผ่านทางเว็บไซต์โดยผู้รับชำระไม่ต้องเห็นบัตรเครดิต เป็นวิธีการใช้บัตรเครดิตโดยทั่วไปวิธีหนึ่ง การที่นำข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต ชื่อผู้ถือบัตร และวันหมดอายุ ไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางเว็บไซต์ จึงเป็นการใช้บัตรเครดิตแล้ว จึงมีความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นที่ออกให้เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 269/5 ประกอบ มาตรา 269/7
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2564)