ที่งอกริมตลิ่งจะงอกจากชายตลิ่งทะเลได้หรือไม่
ที่งอกริมตลิ่งจะงอกจากชายตลิ่งทะเลได้หรือไม่
818 Views
ประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดทางฝั่งอันดามันจำนวน 6 จังหวัด และทางฝั่งอ่าวไทยจำนวน 17 จังหวัด จังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลยาวที่สุด คือ จังหวัดชุมพร ส่วนจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลสั้นที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันพื้นที่หลายแห่งมีลักษณะที่ตื้นเขินขึ้นเนื่องจากการตกตะกอนของดิน ทราย การเปลี่ยนทางเดินของน้ำ หรือจากการสร้างเขื่อนในทะเล จึงมีคำถามว่า ที่งอกริมตลิ่งจะงอกจากชายตลิ่งทะเลได้หรือไม่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ชายทะเล” ไว้ว่า หมายถึง เขตระหว่างแนวน้ำทะเลลงต่ำสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ดังนั้น สภาพทางภูมิศาสตร์ของที่ชายทะเล ก็คือ ที่ชายตลิ่งนั่นเอง เมื่อที่ชายทะเลตื้นเขินจนน้ำทะเลท่วมไม่ถึง ที่ชายทะเลดังกล่าวอยู่ติดกับที่ดินแปลงใดก็ได้ชื่อว่าเป็นที่งอกของที่ดินแปลงนั้น ปัญหาว่าที่งอกดังกล่าวจะตกเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้นโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 หรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าการตื้นเขินของที่ชายทะเลนั้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือไม่ หากเกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่ชายทะเลดังกล่าวก็พ้นจากสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304(2)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2556)
# ขอบคุณข้อมูลจาก “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ชายทะเล” ไว้ว่า หมายถึง เขตระหว่างแนวน้ำทะเลลงต่ำสุดกับแนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ดังนั้น สภาพทางภูมิศาสตร์ของที่ชายทะเล ก็คือ ที่ชายตลิ่งนั่นเอง เมื่อที่ชายทะเลตื้นเขินจนน้ำทะเลท่วมไม่ถึง ที่ชายทะเลดังกล่าวอยู่ติดกับที่ดินแปลงใดก็ได้ชื่อว่าเป็นที่งอกของที่ดินแปลงนั้น ปัญหาว่าที่งอกดังกล่าวจะตกเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้นโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 หรือไม่ ก็อยู่ที่ว่าการตื้นเขินของที่ชายทะเลนั้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือไม่ หากเกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่ชายทะเลดังกล่าวก็พ้นจากสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304(2)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2556)
# ขอบคุณข้อมูลจาก “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง”