การพิมพ์ “ค” เพียงตัวเดียวในช่องแชทขณะไลฟ์สด เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่
การพิมพ์ “ค” เพียงตัวเดียวในช่องแชทขณะไลฟ์สด เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่
43 Views
การไลฟ์สด (Live Streaming) คือ การถ่ายทอดสดผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความน่าสนใจ ดึงดูดการรับรู้ และทำให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบหรือแสดงความคิดเห็นกับผู้ใช้งานได้ทันที เมื่อการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล จึงมีคำถามว่า การพิมพ์ “ค” เพียงตัวเดียวในช่องแชทขณะไลฟ์สด เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่
ป.อ.มาตรา 393 มีหลักว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “การดูหมิ่น” จึงหมายถึงการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การจะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นจึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายด้วยหรือไม่ “ค” เป็นพยัญชนะตัวที่ 4 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก “ฃ” และอยู่ก่อน “ฅ” ซึ่งจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำไปประสมกับสระ (มีทั้งหมด 32 ตัว) และวรรณยุกต์ (มีทั้งหมด 5 ตัว) อีกทั้งการใช้คำว่าควายแทนตัวอักษร “ค” ในการสอนการอ่านและการเขียนเป็นเพียงการช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้ตัวอักษรได้ง่ายขึ้นโดยการเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเท่านั้น การพิมพ์ “ค” เพียงตัวเดียวในช่องแชทขณะไลฟ์สด จึงไม่ได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงที่จะดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับบริบทและเจตนาของผู้ใช้ รวมทั้งการรับรู้และการตีความของผู้รับสาร บางครั้งอาจมีความหมายที่ดี เช่น คนดี คุณธรรม หรือคุณภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาความสุภาพและเคารพต่อความเห็นของผู้อื่นในสังคมออนไลน์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีและเป็นมิตร หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานเอง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.อ.มาตรา 393 มีหลักว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ “การดูหมิ่น” จึงหมายถึงการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การจะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นจึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายด้วยหรือไม่ “ค” เป็นพยัญชนะตัวที่ 4 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก “ฃ” และอยู่ก่อน “ฅ” ซึ่งจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนำไปประสมกับสระ (มีทั้งหมด 32 ตัว) และวรรณยุกต์ (มีทั้งหมด 5 ตัว) อีกทั้งการใช้คำว่าควายแทนตัวอักษร “ค” ในการสอนการอ่านและการเขียนเป็นเพียงการช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำและเรียนรู้ตัวอักษรได้ง่ายขึ้นโดยการเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเท่านั้น การพิมพ์ “ค” เพียงตัวเดียวในช่องแชทขณะไลฟ์สด จึงไม่ได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงที่จะดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งนี้ โดยขึ้นอยู่กับบริบทและเจตนาของผู้ใช้ รวมทั้งการรับรู้และการตีความของผู้รับสาร บางครั้งอาจมีความหมายที่ดี เช่น คนดี คุณธรรม หรือคุณภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาความสุภาพและเคารพต่อความเห็นของผู้อื่นในสังคมออนไลน์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เนื่องจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีและเป็นมิตร หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานเอง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ