ค่าโทรศัพท์มือถือที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนในลักษณะเหมาจ่าย ถือเป็นเงินซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการเลิกจ้างหรือไม่
ค่าโทรศัพท์มือถือที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนในลักษณะเหมาจ่าย ถือเป็นเงินซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการเลิกจ้างหรือไม่
1347 Views
จากสถานการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้นายจ้างหลายรายต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการประกอบธุรกิจซึ่งอาจมีความจำเป็นและนำไปสู่การเลิกจ้างลูกจ้างบางตำแหน่งที่นายจ้างมีระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone Allowance) ให้แก่ลูกจ้าง จึงมีคำถามว่า ค่าโทรศัพท์มือถือที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนในลักษณะเหมาจ่าย ถือเป็นเงินซึ่งต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการเลิกจ้างหรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ตามปัญหา การที่นายจ้างจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนเป็นจำนวนแน่นอนในลักษณะเหมาจ่าย โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะจ่ายเป็นค่าโทรศัพท์จริงหรือไม่ หรือได้ใช้เงินดังกล่าวไปจำนวนมากน้อยเพียงใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐาน เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือ แต่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการเลิกจ้าง
# จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณหรือปรับลดฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
# ชื่อที่เรียกไม่ใช่สาระสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นเงินประเภทใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2873/2557 และ 7316/2549)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ตามปัญหา การที่นายจ้างจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือให้แก่ลูกจ้างทุกเดือนเป็นจำนวนแน่นอนในลักษณะเหมาจ่าย โดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะจ่ายเป็นค่าโทรศัพท์จริงหรือไม่ หรือได้ใช้เงินดังกล่าวไปจำนวนมากน้อยเพียงใด ทั้งลูกจ้างไม่ต้องแสดงใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐาน เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือ แต่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาคำนวณเป็นค่าชดเชยในกรณีที่มีการเลิกจ้าง
# จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณหรือปรับลดฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
# ชื่อที่เรียกไม่ใช่สาระสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นเงินประเภทใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2873/2557 และ 7316/2549)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ