ค่าเสียหายสำหรับความรู้สึกผิดหวังเสียใจ
ค่าเสียหายสำหรับความรู้สึกผิดหวังเสียใจ
161 Views
ลูกค้าจองบัตรคอนเสิร์ตไว้เพื่อรับบัตรหน้างาน แต่การจราจรติดขัดทำให้มาถึงภายหลังการแสดงเริ่มต้นไปแล้ว ผู้จัดงานจึงนำบัตรที่นั่งดังกล่าวขายให้กับผู้อื่นที่มารอซื้อบัตรหน้างานโดยอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเนื่องจากมีลูกค้าผู้สนใจชมการแสดงคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมาก และได้จัดที่นั่งอื่นในชั้นเดียวกันไว้ให้แทน แต่ลูกค้าปฏิเสธ ลูกค้าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายสำหรับความรู้สึกผิดหวังเสียใจที่ไม่ได้นั่งดูคอนเสิร์ตในที่ ๆ จองไว้ได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 215 มีหลักว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” และมาตรา 222 ว.2 มีหลักว่า “เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว” การที่ลูกค้าจองบัตรที่นั่งคอนเสิร์ตไว้แล้วแต่ไม่สามารถนั่งตามที่ ๆ จองไว้ได้ เพราะผู้จัดงานขายบัตรสำหรับที่นั่งดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นไป ย่อมถือว่าผู้จัดงานเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จัดงานจะอ้างว่าเป็นความผิดของลูกค้าที่มาไม่ทันเริ่มงานและจะยกเอาเหตุที่มีลูกค้าผู้สนใจชมการแสดงคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมากมาเป็นเหตุสุดวิสัย และได้จัดที่นั่งอื่นในชั้นเดียวกันไว้ให้แทน แต่ลูกค้าปฏิเสธเพื่อแก้ตัวไม่ได้ ลูกค้าจึงเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่การนั้นได้ แต่ความรู้สึกในทางจิตใจนั้นไม่ใช่ความเสียหายที่จะพึงเรียกร้องกันได้ และในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ อย่างไรก็ดี ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาเพื่อชดเชยการที่ลูกค้าต้องเสียไปเท่าที่คำนวณเป็นเงินคือค่าบัตรคอนเสิร์ตดังกล่าว
# หากจะมีความเสียหายอย่างไรอีก ก็ต้องคำนวณมาด้วย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2499)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 215 มีหลักว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” และมาตรา 222 ว.2 มีหลักว่า “เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว” การที่ลูกค้าจองบัตรที่นั่งคอนเสิร์ตไว้แล้วแต่ไม่สามารถนั่งตามที่ ๆ จองไว้ได้ เพราะผู้จัดงานขายบัตรสำหรับที่นั่งดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นไป ย่อมถือว่าผู้จัดงานเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จัดงานจะอ้างว่าเป็นความผิดของลูกค้าที่มาไม่ทันเริ่มงานและจะยกเอาเหตุที่มีลูกค้าผู้สนใจชมการแสดงคอนเสิร์ตเป็นจำนวนมากมาเป็นเหตุสุดวิสัย และได้จัดที่นั่งอื่นในชั้นเดียวกันไว้ให้แทน แต่ลูกค้าปฏิเสธเพื่อแก้ตัวไม่ได้ ลูกค้าจึงเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแก่การนั้นได้ แต่ความรู้สึกในทางจิตใจนั้นไม่ใช่ความเสียหายที่จะพึงเรียกร้องกันได้ และในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ อย่างไรก็ดี ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาเพื่อชดเชยการที่ลูกค้าต้องเสียไปเท่าที่คำนวณเป็นเงินคือค่าบัตรคอนเสิร์ตดังกล่าว
# หากจะมีความเสียหายอย่างไรอีก ก็ต้องคำนวณมาด้วย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2499)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ