ทายาทผู้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก
ทายาทผู้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก
366 Views
บิดา (ผู้ตาย) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนเล็กซึ่งแต่งงานมีครอบครัวและย้ายไปอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศ บุตรสาวคนโตซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูบิดาก่อนตาย ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ และไม่ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ดังกล่าว จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1608 ว.3 มีหลักว่า “เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก” ตามปัญหา แม้บุตรสาวคนโตซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูบิดาก่อนตายจะเป็นทายาทโดยธรรม เป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ดังกล่าว แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนเล็กแล้ว ถือได้ว่าบุตรสาวคนโตเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก จึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 1608 ว.3 มีหลักว่า “เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก” ตามปัญหา แม้บุตรสาวคนโตซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูบิดาก่อนตายจะเป็นทายาทโดยธรรม เป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ดังกล่าว แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนเล็กแล้ว ถือได้ว่าบุตรสาวคนโตเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก จึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ