ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเล่นเกมในเวลาทำงาน ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเล่นเกมในเวลาทำงาน ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
476 Views
คำว่า “เกม” เขียนทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Game สะกดโดยไม่มี “ส์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เกม” ไว้ว่าหมายถึง การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณะนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วยการแพ้ชนะกันครั้งหนึ่งๆ เช่น เล่นแบดมินตัน 3 เกม เป็นต้น จากข้อมูลสถิติพบว่าปัจจุบัน ลูกจ้างกว่าร้อยละ 30 เคยเล่นเกมในขณะทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นบางส่วนยังยอมรับว่าเคยมีการเล่นเกมในขณะประชุมอีกด้วย พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความไม่ตั้งใจในการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลง มีความผิดพลาดเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของลูกจ้างคนนั้น เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมักจะมีการระบุว่าห้ามลูกจ้างใช้เวลางานไปทำกิจกรรมส่วนตัว จึงมีคำถามว่า ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนเล่นเกมในเวลาทำงาน ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่” เมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ไว้ และมิได้ใช้คำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยเล่นเกมในเวลาทำงาน แม้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าลูกจ้างกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง จึงไม่อาจไล่ลูกจ้างออกได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชย # นายจ้างจึงต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน และเมื่อได้ตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือแล้ว หากลูกจ้างยังฝ่าฝืนหรือกระทำผิดในเรื่องเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิดครั้งแรก นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2545)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่” เมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ไว้ และมิได้ใช้คำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยเล่นเกมในเวลาทำงาน แม้จะเป็นการหลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าลูกจ้างกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง จึงไม่อาจไล่ลูกจ้างออกได้ทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชย # นายจ้างจึงต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน และเมื่อได้ตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือแล้ว หากลูกจ้างยังฝ่าฝืนหรือกระทำผิดในเรื่องเดียวกันนั้นซ้ำอีกภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิดครั้งแรก นายจ้างจึงเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2545)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ