การเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) นั้นมีความผิดอย่างไร
การเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) นั้นมีความผิดอย่างไร
328 Views
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาเสพข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ในขณะที่ทุกคนต่างก็สามารถเป็นผู้สร้างข่าวได้เองทั้งใน YouTube Twitter Instagram หรือ Facebook สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ มีการส่งต่อข่าวปลอม (Fake News) กันเป็นจำนวนมากซึ่งสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนที่ได้เห็นหรืออ่านข่าวปลอมดังกล่าว สำหรับแรงจูงใจของการสร้างข่าวปลอมนั้นมีหลายประการ เช่น การมุ่งทำลายทางการเมือง การทำลายภาพลักษณ์ของบุคคล การสร้างข่าวลือ หรือการแอบแฝงโฆษณาเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน เป็นต้น จึงมีคำถามว่า การเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) นั้นมีความผิดอย่างไร
การเผยแพร่ข่าวปลอมในสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ซึ่งหากมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน อาจเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ได้ ความผิดตามมาตรานี้ อนุมาตรา (1) เป็นการกระทำโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลปลอม หรือบิดเบือน หรือเป็นเท็จซึ่งแม้จะเป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจเกิดความเสียหายแก่ประชาชนก็เป็นความผิดแล้ว เพียงแต่จะมีอัตราโทษเบาลง และเป็นความผิดที่ยอมความได้เท่านั้น ส่วนอนุมาตรา (2) เป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ และเป็นความผิดเฉพาะการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อประเทศ หรือสาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ดังนั้น หากกระทบเพียงบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนไม่มากพอที่จะถือว่าเป็นกลุ่มประชาชน ก็จะยังไม่เป็นความผิดตามอนุมาตรานี้ # อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเผยแพร่ข่าวปลอมอาจจะไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ข้างต้น แต่ก็อาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นได้ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามป.อ. มาตรา 326 หรือมาตรา 328 รวมทั้งอาจเป็นความผิดฐานเผยแพร่ข้อความเท็จตามมาตรา 384 และยังเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 423 อีกด้วย ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมดทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายต่อไป
การเผยแพร่ข่าวปลอมในสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ซึ่งหากมีลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน อาจเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ได้ ความผิดตามมาตรานี้ อนุมาตรา (1) เป็นการกระทำโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นข้อมูลปลอม หรือบิดเบือน หรือเป็นเท็จซึ่งแม้จะเป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่อาจเกิดความเสียหายแก่ประชาชนก็เป็นความผิดแล้ว เพียงแต่จะมีอัตราโทษเบาลง และเป็นความผิดที่ยอมความได้เท่านั้น ส่วนอนุมาตรา (2) เป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ และเป็นความผิดเฉพาะการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อประเทศ หรือสาธารณะ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ดังนั้น หากกระทบเพียงบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนไม่มากพอที่จะถือว่าเป็นกลุ่มประชาชน ก็จะยังไม่เป็นความผิดตามอนุมาตรานี้ # อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเผยแพร่ข่าวปลอมอาจจะไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ข้างต้น แต่ก็อาจจะเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นได้ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามป.อ. มาตรา 326 หรือมาตรา 328 รวมทั้งอาจเป็นความผิดฐานเผยแพร่ข้อความเท็จตามมาตรา 384 และยังเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 423 อีกด้วย ซึ่งผู้กระทำความผิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมดทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายต่อไป