สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งลงแรง แต่อีกฝ่ายหนึ่งลงด้วยทรัพย์สิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือไม่ และเมื่อเลิกกัน คู่สัญญาฝ่ายที่ลงแรงจะมีสิทธิขอคืนทุนและดอกเบี้ยหรือไม่
สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งลงแรง แต่อีกฝ่ายหนึ่งลงด้วยทรัพย์สิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือไม่ และเมื่อเลิกกัน คู่สัญญาฝ่ายที่ลงแรงจะมีสิทธิขอคืนทุนและดอกเบี้ยหรือไม่
2059 Views
การร่วมกันลงทุนนั้น หมายถึงการที่คู่สัญญาตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปตกลงทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจร่วมกันในทางการค้าหรือหากำไร ภายใต้การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินกิจการอย่างชัดเจน โดยสิ่งที่นำมาร่วมลงทุนนั้นอาจเป็นเงินทุน ที่ดิน อาคาร เทคโนโลยี การผลิต หรือบุคลากรก็ได้ จึงมีคำถามว่า สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งลงแรง แต่อีกฝ่ายหนึ่งลงด้วยทรัพย์สิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือไม่ และเมื่อเลิกกัน คู่สัญญาฝ่ายที่ลงแรงจะมีสิทธิขอคืนทุนและดอกเบี้ยหรือไม่
ป.พ.พ.ม.1012 มีหลักว่า “สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ลงทุนด้วยทรัพย์สิน ส่วนคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการลงแรง ด้วยประสงค์เพื่อแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากการดำเนินกิจการ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.ม.1012 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินนั้น และลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ไม่ได้มีเงินหรือทรัพย์สินมาลงทุน และในสัญญาข้อตกลงร่วมทำผลประโยชน์ดังกล่าว ก็มิได้บอกว่าจะแบ่งทุนหรือตีราคาค่าแรงงานเป็นทุนเพื่อคืนให้แก่คู่สัญญา เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกัน คู่สัญญาฝ่ายที่ลงแรงจึงไม่มีสิทธิขอคืนทุนพร้อมดอกเบี้ย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2559)
ป.พ.พ.ม.1012 มีหลักว่า “สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ลงทุนด้วยทรัพย์สิน ส่วนคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการลงแรง ด้วยประสงค์เพื่อแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากการดำเนินกิจการ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.ม.1012 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินนั้น และลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ไม่ได้มีเงินหรือทรัพย์สินมาลงทุน และในสัญญาข้อตกลงร่วมทำผลประโยชน์ดังกล่าว ก็มิได้บอกว่าจะแบ่งทุนหรือตีราคาค่าแรงงานเป็นทุนเพื่อคืนให้แก่คู่สัญญา เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกัน คู่สัญญาฝ่ายที่ลงแรงจึงไม่มีสิทธิขอคืนทุนพร้อมดอกเบี้ย
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2559)