ที่ดินแปลงเดียวกัน มีการแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงย่อย โดยแปลงในมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่เป็นเพียงทางเดินเท้ากว้างประมาณ 1 เมตร เจ้าของที่ดินแปลงในจะขอเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงนอกเพื่อให้สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของตนเองได้หรือไม่
ที่ดินแปลงเดียวกัน มีการแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงย่อย โดยแปลงในมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่เป็นเพียงทางเดินเท้ากว้างประมาณ 1 เมตร เจ้าของที่ดินแปลงในจะขอเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงนอกเพื่อให้สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของตนเองได้หรือไม่
637 Views
รถยนต์เป็นยานพาหนะที่มีความจำเป็นในยุคปัจจุบัน ถึงขนาดมีการเปรียบเทียบว่านอกจากปัจจัย 5 ประเภท ซึ่งได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย และโทรศัพท์มือถือแล้ว รถยนต์ถือเป็นปัจจัยที่ 6 ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต เมื่อรถยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง เจ้าของจึงมักจะนำรถยนต์เก็บไว้ในบริเวณที่พักอาศัยของตนเอง เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์ในรถยนต์ จึงมีคำถามว่า ที่ดินแปลงเดียวกัน มีการแบ่งแยกออกเป็น 2 แปลงย่อย โดยแปลงในมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่เป็นเพียงทางเดินเท้ากว้างประมาณ 1 เมตร เจ้าของที่ดินแปลงในจะขอเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงนอกเพื่อให้สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของตนเองได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1349 และ 1350 มีหลักว่า “ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ อย่างไรก็ดี ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นจะต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ แต่ถ้าที่ดินที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน และไม่ต้องเสียค่าทดแทน” จากคำถามข้างต้น เดิมที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมาจึงมีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงย่อย เมื่อที่ดินแปลงในมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยเป็นทางเดินเท้ากว้างประมาณ 1 เมตรอยู่แล้ว การไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น จึงเป็นเรื่องความสะดวกของเจ้าของที่ดินแปลงในเท่านั้น เจ้าของที่ดินแปลงในจึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงนอก เพราะไม่ใช่กรณีที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 1349 และ 1350 มีหลักว่า “ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ อย่างไรก็ดี ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นจะต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ แต่ถ้าที่ดินที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน และไม่ต้องเสียค่าทดแทน” จากคำถามข้างต้น เดิมที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมาจึงมีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลงย่อย เมื่อที่ดินแปลงในมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยเป็นทางเดินเท้ากว้างประมาณ 1 เมตรอยู่แล้ว การไม่สามารถใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อผ่านเข้าออกได้นั้น จึงเป็นเรื่องความสะดวกของเจ้าของที่ดินแปลงในเท่านั้น เจ้าของที่ดินแปลงในจึงไม่มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงนอก เพราะไม่ใช่กรณีที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมจนไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6372/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ