การลักทรัพย์เพื่อประทังความหิวโหยมีความผิดหรือไม่
การลักทรัพย์เพื่อประทังความหิวโหยมีความผิดหรือไม่
406 Views
ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี พวกเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการลักอาหารจากร้านสะดวกซื้อเพื่อประทังชีวิต เมื่อความหิวเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและสามารถระงับได้ด้วยการรับประทานอาหารเท่านั้น จึงมีคำถามว่า การลักทรัพย์เพื่อประทังความหิวโหยมีความผิดหรือไม่
แม้ว่าในอดีตจะมีตัวอย่างคดีความผิดเกี่ยวกับการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อประทังความหิวโหยที่จบลงในชั้นพนักงานอัยการซึ่งใช้ดุลพินิจกลั่นกรองคดีอาญาก่อนขึ้นสู่ศาลโดย “คำสั่งไม่ฟ้องคดี” เนื่องจากเห็นว่า การไม่ฟ้องคดีอาญาเรื่องนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพื่อความเป็นธรรม และความยุติธรรมแก่ประชาชนในฐานะที่เป็นทนายความของแผ่นดิน อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้คดีอาญาไม่ล้นศาล และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน หรือแม้จะมีตัวอย่างของศาลต่างประเทศที่ตัดสินยกฟ้องชายไร้บ้านคนหนึ่งซึ่งลักอาหารจากร้านสะดวกซื้อโดยวินิจฉัยว่า การลักอาหารเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ชีวิตรอดพ้นจากความหิวโหยนั้นถือว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นก็ตาม แต่นั่นก็เป็นการยืนยันหลักการว่าการกระทำความผิดในลักษณะนี้ "เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน" ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานบ้านเมืองมีอำนาจที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้ เพราะเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีที่ไม่มีเหตุฉกรรจ์ หรือลักษณะความผิดอื่นประกอบ และเหตุผลเพื่อประทังความหิวโหยก็ไม่ใช่เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้ว่าในอดีตจะมีตัวอย่างคดีความผิดเกี่ยวกับการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อประทังความหิวโหยที่จบลงในชั้นพนักงานอัยการซึ่งใช้ดุลพินิจกลั่นกรองคดีอาญาก่อนขึ้นสู่ศาลโดย “คำสั่งไม่ฟ้องคดี” เนื่องจากเห็นว่า การไม่ฟ้องคดีอาญาเรื่องนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า เพื่อความเป็นธรรม และความยุติธรรมแก่ประชาชนในฐานะที่เป็นทนายความของแผ่นดิน อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้คดีอาญาไม่ล้นศาล และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน หรือแม้จะมีตัวอย่างของศาลต่างประเทศที่ตัดสินยกฟ้องชายไร้บ้านคนหนึ่งซึ่งลักอาหารจากร้านสะดวกซื้อโดยวินิจฉัยว่า การลักอาหารเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ชีวิตรอดพ้นจากความหิวโหยนั้นถือว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็นก็ตาม แต่นั่นก็เป็นการยืนยันหลักการว่าการกระทำความผิดในลักษณะนี้ "เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน" ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานบ้านเมืองมีอำนาจที่จะเอาผิดกับผู้กระทำได้ เพราะเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีที่ไม่มีเหตุฉกรรจ์ หรือลักษณะความผิดอื่นประกอบ และเหตุผลเพื่อประทังความหิวโหยก็ไม่ใช่เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ