การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษามีกี่สถาน
การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษามีกี่สถาน
264 Views
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2548 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน ส่วน “การกระทำผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา # สำหรับโทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดมี 4 สถาน ได้แก่ (1) ว่ากล่าวตักเตือน (2) ทำทัณฑ์บน (3) ตัดคะแนนประพฤติ และ (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม # นอกจากนี้ ระเบียบดังกล่าวยังได้ระบุเพิ่มเติมว่า ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยคำนึงถึงอายุนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย # ทั้งนี้ การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป โดยให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษามอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
# ข้อ 4 ถึงข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2548
# โรงเรียนหรือสถานศึกษาเอกชนก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวข้างต้นด้วย
# เป็นคนละกรณีกับการมอบตัวเพื่อยืนยันสิทธิ์ และชำระค่าการศึกษา ซึ่งหากไม่มามอบตัวตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนดถือว่าสละสิทธิ์
# ที่มาของข้อมูล: https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=156811
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
# ข้อ 4 ถึงข้อ 6 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. 2548
# โรงเรียนหรือสถานศึกษาเอกชนก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวข้างต้นด้วย
# เป็นคนละกรณีกับการมอบตัวเพื่อยืนยันสิทธิ์ และชำระค่าการศึกษา ซึ่งหากไม่มามอบตัวตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนดถือว่าสละสิทธิ์
# ที่มาของข้อมูล: https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=156811
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ