การแอบใช้โทรศัพท์อัดเสียงของคู่สนทนาในความผิดฐานหมิ่นประมาท
การแอบใช้โทรศัพท์อัดเสียงของคู่สนทนาในความผิดฐานหมิ่นประมาท
3065 Views
การแอบใช้โทรศัพท์อัดเสียงของคู่สนทนาซึ่งมีการพูดพาดพิงถึงบุคคลอื่นในทางเสียหาย หากบุคคลที่ถูกพาดพิงดำเนินคดีกับผู้พูดในความผิดฐานหมิ่นประมาท บันทึกเสียงการสนทนาดังกล่าวจะสามารถรับฟังพยานหลักฐานได้หรือไม่
การกระทำที่แอบนำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่มาทำการบันทึกเสียงการสนทนาในระหว่างการพบปะพูดคุยกัน โดยผู้พูดไม่ทราบว่าขณะที่ตนสนทนาอยู่นั้น การสนทนาได้ถูกบันทึกลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้พูดอย่างชัดแจ้ง จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้นตามป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มิให้เจ้าพนักงานของรัฐแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ตามป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดาจึงนำไปใช้บังคับแก่กรณีที่เอกชนผู้เสียหายเป็นผู้ได้พยานหลักฐานนั้นมาจากการกระทำโดยมิชอบด้วย ส่วนเหตุยกเว้นให้สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามป.วิ.อ. มาตรา 226/1 ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดีโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อบุคคลที่ถูกพาดพิงฟ้องขอให้ลงโทษผู้พูดในความผิดฐานหมิ่นประมาท อันเป็นการพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกัน และเป็นความผิดอันยอมความได้ พฤติการณ์ของความผิดในคดีจึงมิใช่เรื่องร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะของคดียังอยู่ในวิสัยที่บุคคลที่ถูกพาดพิงสามารถหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการอันสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย มาพิสูจน์ความผิดของผู้พูดได้ การอนุญาตให้รับฟังพยานหลักฐานที่บุคคลที่ถูกพาดพิงได้มาจากการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบเท่ากับอนุญาตให้บุคคลที่ถูกพาดพิงนำพยานหลักฐานมาเพิ่มเติมในส่วนที่ตนนำสืบบกพร่องไว้ เพื่อจะลงโทษผู้พูดแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของผู้พูดและกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป การรับฟังพยานหลักฐานนั้น มิได้เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม แต่กลับจะเป็นผลเสียที่กระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนมากกว่า จึงไม่อาจรับฟังบันทึกเสียงสนทนาและข้อความจากการถอดเทปการสนทนาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้พูดได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การกระทำที่แอบนำเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่มาทำการบันทึกเสียงการสนทนาในระหว่างการพบปะพูดคุยกัน โดยผู้พูดไม่ทราบว่าขณะที่ตนสนทนาอยู่นั้น การสนทนาได้ถูกบันทึกลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของผู้พูดอย่างชัดแจ้ง จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐานนั้นตามป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มิให้เจ้าพนักงานของรัฐแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ตามป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามมิให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดาจึงนำไปใช้บังคับแก่กรณีที่เอกชนผู้เสียหายเป็นผู้ได้พยานหลักฐานนั้นมาจากการกระทำโดยมิชอบด้วย ส่วนเหตุยกเว้นให้สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามป.วิ.อ. มาตรา 226/1 ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังและต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดีโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อบุคคลที่ถูกพาดพิงฟ้องขอให้ลงโทษผู้พูดในความผิดฐานหมิ่นประมาท อันเป็นการพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกัน และเป็นความผิดอันยอมความได้ พฤติการณ์ของความผิดในคดีจึงมิใช่เรื่องร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือผลประโยชน์สาธารณะของประชาชนโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะของคดียังอยู่ในวิสัยที่บุคคลที่ถูกพาดพิงสามารถหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการอันสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย มาพิสูจน์ความผิดของผู้พูดได้ การอนุญาตให้รับฟังพยานหลักฐานที่บุคคลที่ถูกพาดพิงได้มาจากการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบเท่ากับอนุญาตให้บุคคลที่ถูกพาดพิงนำพยานหลักฐานมาเพิ่มเติมในส่วนที่ตนนำสืบบกพร่องไว้ เพื่อจะลงโทษผู้พูดแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิส่วนบุคคลของผู้พูดและกระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป การรับฟังพยานหลักฐานนั้น มิได้เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม แต่กลับจะเป็นผลเสียที่กระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาหรือสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนมากกว่า จึงไม่อาจรับฟังบันทึกเสียงสนทนาและข้อความจากการถอดเทปการสนทนาเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้พูดได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ