หากจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบทุกหน้า โจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้หรือไม่
หากจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบทุกหน้า โจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้หรือไม่
268 Views
การที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกับทนายโจทก์เพื่อรับรองการแก้ไขข้อความจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน แต่ไม่ลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อจำเลยในหน้าที่ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความ หากศาลได้ตรวจและจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาให้บังคับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ่านสัญญาและคำบังคับให้จำเลยฟัง และจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาไว้แล้ว โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาตามยอม และมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 851 มีหลักว่า “อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” ตามปัญหา การที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกับทนายโจทก์เพื่อรับรองการแก้ไขข้อความจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน ย่อมเพียงพอที่จะถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดอันได้แก่ตัวจำเลยแล้ว แม้จำเลยจะมิได้ลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อจำเลยในหน้าที่ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม ทั้งก่อนที่จะมีคำพิพากษาตามยอม ศาลได้ตรวจสัญญาประนีประนอมยอมความ และจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นรายละเอียดข้อตกลงของคู่สัญญาและมีคำพิพากษาให้บังคับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลอ่านสัญญาประนีประนอมยอมความและคำบังคับให้จำเลยฟัง และจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาไว้แล้ว คำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาตามยอม และมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2566)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 851 มีหลักว่า “อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” ตามปัญหา การที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกับทนายโจทก์เพื่อรับรองการแก้ไขข้อความจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน ย่อมเพียงพอที่จะถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดอันได้แก่ตัวจำเลยแล้ว แม้จำเลยจะมิได้ลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อจำเลยในหน้าที่ 2 ของสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม ทั้งก่อนที่จะมีคำพิพากษาตามยอม ศาลได้ตรวจสัญญาประนีประนอมยอมความ และจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นรายละเอียดข้อตกลงของคู่สัญญาและมีคำพิพากษาให้บังคับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยศาลอ่านสัญญาประนีประนอมยอมความและคำบังคับให้จำเลยฟัง และจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบในรายงานกระบวนพิจารณาไว้แล้ว คำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีกับจำเลยตามคำพิพากษาตามยอม และมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2566)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ