การโอนที่ดินที่ถูกเวนคืน ถือเป็นนิติกรรมการซื้อขายหรือไม่
การโอนที่ดินที่ถูกเวนคืน ถือเป็นนิติกรรมการซื้อขายหรือไม่
588 Views
การเวนคืนที่ดิน คือ การที่รัฐ หรือหน่วยงานราชการทำการขอซื้อที่ดินจากราษฎรที่เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนำไปใช้ในกิจการที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินด้วย จึงมีคำถามว่า การโอนที่ดินที่ถูกเวนคืน ถือเป็นนิติกรรมการซื้อขายหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.พ.พ. มาตรา 149 มีหลักว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” ส่วนมาตรา 453 มีหลักว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่รัฐใช้อำนาจเวนคืนที่ดิน เป็นเรื่องของการใช้บังคับกฎหมายมหาชน แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินจะใช้คำว่าซื้อขายก็ตาม ก็ไม่ใช่การซื้อขายที่เป็นนิติกรรมตามมาตรา 453 ซึ่งจะต้องเกิดจากการกระทำด้วยความสมัครใจและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตามมาตรา 149
(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 3093/2559)
ป.พ.พ. มาตรา 149 มีหลักว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” ส่วนมาตรา 453 มีหลักว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่รัฐใช้อำนาจเวนคืนที่ดิน เป็นเรื่องของการใช้บังคับกฎหมายมหาชน แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินจะใช้คำว่าซื้อขายก็ตาม ก็ไม่ใช่การซื้อขายที่เป็นนิติกรรมตามมาตรา 453 ซึ่งจะต้องเกิดจากการกระทำด้วยความสมัครใจและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตามมาตรา 149
(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 3093/2559)