การท้าต่อยกับพระภิกษุมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือไม่
การท้าต่อยกับพระภิกษุมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือไม่
373 Views
ปัจจุบันคนจำนวนมากอยากมีตัวตนในโลกโซเชี่ยล และอยากเป็น "ใครบางคน (Somebody)" ที่สังคมยอมรับ เพราะการเป็นที่รู้จักนำมาสู่ความมีชื่อเสียง การมีงาน และการมีรายได้มหาศาล หลายคนจึงพยายามที่จะสร้างกระแสและทำให้ตนเองกลายเป็นจุดสนใจอยู่เสมอ เช่น การแสดงออกที่แปลกๆ หรือแม้แต่การท้าตีท้าต่อยกับบุคคลที่มีชื่อเสียงดังที่เป็นข่าวอยู่เป็นประจำ ทำให้แอดมินนึกถึงคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการดูหมิ่นเจ้าพนักงานบางฉบับ จึงมีคำถามว่า การท้าต่อยกับพระภิกษุมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือไม่
ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรนั้น เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น หากเป็นพระภิกษุทั่วไป แม้จะสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคก็ตาม ย่อมไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ส่วนคำว่า "ดูหมิ่น" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทาง พูด หรือเขียน เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง เป็นต้น ดังนั้น การท้าต่อยกับพระภิกษุจึงเป็นเพียงการแสดงออกทางวาจาที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะทำให้เข้าใจว่าผู้พูดมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทให้พระภิกษุรูปดังกล่าวเกิดความอับอายแต่อย่างใด และไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามป.อ. มาตรา 136
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540, 415/2528 และ 2003-2005/2500)
ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรนั้น เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น หากเป็นพระภิกษุทั่วไป แม้จะสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคก็ตาม ย่อมไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน ส่วนคำว่า "ดูหมิ่น" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทาง พูด หรือเขียน เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริง เป็นต้น ดังนั้น การท้าต่อยกับพระภิกษุจึงเป็นเพียงการแสดงออกทางวาจาที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะทำให้เข้าใจว่าผู้พูดมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทให้พระภิกษุรูปดังกล่าวเกิดความอับอายแต่อย่างใด และไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามป.อ. มาตรา 136
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540, 415/2528 และ 2003-2005/2500)