เสียงการจัดกิจกรรมของวัดถือเป็นมลพิษร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือไม่
เสียงการจัดกิจกรรมของวัดถือเป็นมลพิษร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือไม่
290 Views
แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่การซื้อบ้านสักหนึ่งหลังในยุคนี้อาจจะยังไม่ใช่คำตอบของคนรุ่นใหม่ เพราะนอกจากจะมีราคาที่สูงแล้ว ทำเลที่ตั้งและการเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจ หลายคนจึงเลือกที่จะซื้อคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเดินทาง อย่างไรก็ดี ชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างคอนโดมิเนียมเป็นปัจจัยที่ความสำคัญ ซึ่งผู้ซื้อพอจะคาดคะเนเบื้องต้นได้บ้าง และ พบปัญหาก็ต่อเมื่อได้อยู่อาศัยจริง จึงมีคำถามว่า เสียงการจัดกิจกรรมของวัดถือเป็นมลพิษร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือไม่
กิจกรรมต่างๆ ในวัดโดยทั่วไป เช่น การทำบุญตักบาตร เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา จัดงานอุปสมบท จัดงานทำบุญวันเกิด จัดงานฌาปนกิจ และการสวดมนต์ทำวัตรเช้า วัตรเย็น ถือเป็นกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนได้รับประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวัดถูกสร้างขึ้นก่อนคอนโดมิเนียม ผู้ที่เลือกซื้อคอนโดมิเนียมย่อมต้องเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมตลอดจนชุมชนใกล้เคียงเป็นอย่างดี เสียงจากกิจกรรมดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขั้นเป็นมลพิษร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน การกำหนดห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในวงกว้าง ซึ่งมีผลเสียมากกว่าเมื่อเทียบกับการคุ้มครองสิทธิในการพักผ่อนของประชาชนโดยรอบวัด แม้เสียงอาจจะมีค่าเกินมาตรฐานเพียงเล็กน้อยในบางช่วงเวลาก็ไม่มีเหตุที่จะต้องระงับการจัดกิจกรรมในวัด # อย่างไรก็ดี เมื่อวัดกับชุมชนเปรียบเสมือนเพื่อนบ้านที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอด เมื่อมีเรื่องที่กระทบกระทั่งหรืออาจทำให้ไม่พึงพอใจบ้างในบางครั้ง จึงควรมีการพูดคุยเจรจา แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมมือ ร่วมใจ แบบคนบ้านใกล้เรือนเคียง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
กิจกรรมต่างๆ ในวัดโดยทั่วไป เช่น การทำบุญตักบาตร เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา จัดงานอุปสมบท จัดงานทำบุญวันเกิด จัดงานฌาปนกิจ และการสวดมนต์ทำวัตรเช้า วัตรเย็น ถือเป็นกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนได้รับประโยชน์ และเป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อวัดถูกสร้างขึ้นก่อนคอนโดมิเนียม ผู้ที่เลือกซื้อคอนโดมิเนียมย่อมต้องเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมตลอดจนชุมชนใกล้เคียงเป็นอย่างดี เสียงจากกิจกรรมดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขั้นเป็นมลพิษร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน การกำหนดห้ามจัดกิจกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในวงกว้าง ซึ่งมีผลเสียมากกว่าเมื่อเทียบกับการคุ้มครองสิทธิในการพักผ่อนของประชาชนโดยรอบวัด แม้เสียงอาจจะมีค่าเกินมาตรฐานเพียงเล็กน้อยในบางช่วงเวลาก็ไม่มีเหตุที่จะต้องระงับการจัดกิจกรรมในวัด # อย่างไรก็ดี เมื่อวัดกับชุมชนเปรียบเสมือนเพื่อนบ้านที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอด เมื่อมีเรื่องที่กระทบกระทั่งหรืออาจทำให้ไม่พึงพอใจบ้างในบางครั้ง จึงควรมีการพูดคุยเจรจา แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมมือ ร่วมใจ แบบคนบ้านใกล้เรือนเคียง
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ