ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน แต่หนังสือสัญญาจำนองมีการระบุให้ถือเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย กรณีจะถือว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือได้หรือไม่
ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน แต่หนังสือสัญญาจำนองมีการระบุให้ถือเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย กรณีจะถือว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือได้หรือไม่
2214 Views
การเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินของผู้ที่มีที่ดินที่ง่ายที่สุดคือการขอกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยการใช้ที่ดินจดทะเบียนจำนองเป็นหลักประกัน ซึ่งผู้กู้ (ผู้จำนอง) จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมจดทะเบียน 1% ของวงเงินจำนองแต่ไม่เกิน 200,000 บาท พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไรก็ดี บางครั้งด้วยความเร่งรีบของคู่สัญญาและปริมาณของเอกสารที่มีเป็นจำนวนมากอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบการลงลายมือชื่อของผู้กู้ในสัญญากู้เงิน จึงมีคำถามว่า ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน แต่หนังสือสัญญาจำนองมีการระบุให้ถือเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย กรณีจะถือว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือได้หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 653 เพียงแต่บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานนั้นจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ การที่ผู้กู้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้ให้กู้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ซึ่งผู้กู้ได้กู้จากผู้ให้กู้ เมื่อหนังสือสัญญาจำนองระบุให้ถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย และผู้กู้มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินที่กู้จากผู้ให้กู้ ดังนี้ หนังสือสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2528)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 653 เพียงแต่บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานนั้นจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ การที่ผู้กู้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้ให้กู้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ซึ่งผู้กู้ได้กู้จากผู้ให้กู้ เมื่อหนังสือสัญญาจำนองระบุให้ถือเอาสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย และผู้กู้มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินที่กู้จากผู้ให้กู้ ดังนี้ หนังสือสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2528)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ