กรณีที่หน่วยงานราชการตกลงทำสัญญาจ้างเหมาบริการกับบุคคลภายนอกให้ทำหน้าที่ขับรถและดูแลความสะอาดของรถยนต์โดยบุคคลดังกล่าวต้องมาทำงานตามวันเวลาราชการและต้องปฏิบัติงานอื่นตามที่ตัวแทนหน่วยงานราชการมอบหมาย รับค่าจ้างแบบเหมาจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยเบิกจ่ายค่าตอบแทนจากหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 บุคคลภายนอกดังกล่าวถือเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 หรือไม่
กรณีที่หน่วยงานราชการตกลงทำสัญญาจ้างเหมาบริการกับบุคคลภายนอกให้ทำหน้าที่ขับรถและดูแลความสะอาดของรถยนต์โดยบุคคลดังกล่าวต้องมาทำงานตามวันเวลาราชการและต้องปฏิบัติงานอื่นตามที่ตัวแทนหน่วยงานราชการมอบหมาย รับค่าจ้างแบบเหมาจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยเบิกจ่ายค่าตอบแทนจากหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 บุคคลภายนอกดังกล่าวถือเป็นลูกจ้างที่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 หรือไม่
987 Views
ป.พ.พ.มาตรา 575 ได้กำหนดสาระสำคัญของการจ้างแรงงานว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจ่ายสินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ผลสำเร็จของงานจึงไม่เป็นสาระสำคัญในการจ่ายค่าจ้าง และระหว่างการทำงานนายจ้างมีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาลูกจ้างได้ ส่วนการจ้างทำของตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 นั้น เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับจ้างทำการงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแก่การงานที่ทำนั้น ผลสำเร็จของงานที่รับจ้างจึงเป็นสาระสำคัญในการรับสินจ้าง และระหว่างการทำงานนายจ้างไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาลูกจ้างได้ จากข้อเท็จจริงข้างต้น ลักษณะงานตามสัญญาจ้างเหมาบริการบุคคลภายนอกให้ทำหน้าที่ขับรถและดูแลความสะอาดของรถยนต์ มีลักษณะของการทำงานที่เหมือนกัน คือ บุคคลดังกล่าวต้องมาทำงานตามวันเวลาราชการและต้องปฏิบัติงานอื่นตามที่ผู้ว่าจ้างมอบหมาย โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน หาใช่เป็นการปฏิบัติงานโดยมีอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้น ทั้งข้อเท็จจริงไม่ได้มีการตรวจรับงาน แม้สัญญาจ้างจะระบุชื่อว่า “สัญญาจ้างเหมาบริการ” และได้กำหนดเนื้อหาสาระของสัญญาให้มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ลักษณะการปฏิบัติงานเป็นนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวกับส่วนราชการจึงเป็นนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 349/2556 และ อ. 531/2557)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 349/2556 และ อ. 531/2557)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ