การฟ้องเท็จในคดีแพ่งมีความผิดฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายอาญาหรือไม่
การฟ้องเท็จในคดีแพ่งมีความผิดฐานฟ้องเท็จตามกฎหมายอาญาหรือไม่
2127 Views
พวกเราเคยสงสัยหรือไม่ว่าจำนวนสถิติคดีแพ่งในแต่ละปีที่มีประมาณ 1 ล้านคดีนั้น จะมีคดีที่แกล้งฟ้องหรือฟ้องเท็จอยู่กี่คดี การฟ้องดังกล่าวกลายเป็นคดีอาญาฐานฟ้องเท็จหรือไม่ และการที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ หรือแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดี เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่
ป.อ.มาตรา 175 มีหลักว่า “ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท” การฟ้องเท็จตามมาตรานี้นั้น ต้องเป็นการฟ้องเท็จในคดีอาญาเท่านั้น จากคำถามข้างต้น การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดอาญาเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด # นอกจากนี้ การที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 อีกด้วยเพราะมิได้เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน และการที่จำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2513)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.อ.มาตรา 175 มีหลักว่า “ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท” การฟ้องเท็จตามมาตรานี้นั้น ต้องเป็นการฟ้องเท็จในคดีอาญาเท่านั้น จากคำถามข้างต้น การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง จึงไม่เป็นความผิดอาญาเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด # นอกจากนี้ การที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 อีกด้วยเพราะมิได้เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน และการที่จำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2513)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ