ผู้ต้องหาให้การเท็จในชั้นสอบสวน มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่ และต่อมาหากผู้ต้องหาคนดังกล่าวไม่ใช่ผู้กระทำผิด จะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
ผู้ต้องหาให้การเท็จในชั้นสอบสวน มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่ และต่อมาหากผู้ต้องหาคนดังกล่าวไม่ใช่ผู้กระทำผิด จะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
353 Views
ในระบบกล่าวหาที่ต้องอาศัยพยานหลักฐาน คำให้การของบุคคลถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคำให้การของผู้ต้องหา เนื่องจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด จึงมีคำถามว่า ผู้ต้องหาให้การเท็จในชั้นสอบสวน มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่ และต่อมาหากผู้ต้องหาคนดังกล่าวไม่ใช่ผู้กระทำผิด จะมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
ป.วิ.อ.ม.134/4 (1) มีหลักว่า “ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้........” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น ผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ จึงเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้ แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และแม้ต่อมามีพยานหลักฐานว่าผู้อื่นเป็นผู้กระทำความผิด คำให้การที่พนักงานสอบสวนได้จดไว้ก็เป็นคำให้การในฐานะผู้ต้องหา แม้จะไม่เป็นความจริง ก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามป.อ.ม.137 เช่นกัน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2522)
ป.วิ.อ.ม.134/4 (1) มีหลักว่า “ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้........” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น ผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ จึงเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้ แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และแม้ต่อมามีพยานหลักฐานว่าผู้อื่นเป็นผู้กระทำความผิด คำให้การที่พนักงานสอบสวนได้จดไว้ก็เป็นคำให้การในฐานะผู้ต้องหา แม้จะไม่เป็นความจริง ก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามป.อ.ม.137 เช่นกัน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2522)