การใช้ดุลยพินิจกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การใช้ดุลยพินิจกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
407 Views
ปัญหาตุ๊กตา
นายพลิ้วและนางไหวรับราชการตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ส่วนนายเข้มเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน นายพลิ้วและนางไหวยื่นใบลากิจล่วงหน้าตามระเบียบในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 โดยนายพลิ้วแจ้งว่าจะเดินทางไปสถานทูตในวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ส่วนนางไหวแจ้งว่าจะเดินทางไปยังจังหวัดชลบุรีในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ช่วงเย็นของวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 นายเข้มมีคำสั่งอนุญาตให้นางไหวลากิจได้ แต่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้นายพลิ้วลากิจโดยแจ้งว่าการไปสถานทูตมิได้เป็นภารกิจที่จำเป็นและโรงเรียนไม่ทราบว่าจะไปทำไม เมื่อถึงวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 นายพลิ้วได้เดินทางไปที่สถานทูต และเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการตามปกติในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 จึงทราบว่านายเข้มไม่อนุญาตให้ลากิจจึงยื่นใบลาป่วยวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 แทนใบลากิจ โดยอ้างว่าท้องเสีย นายเข้มจึงเกษียนสั่งโดยเว้นทำเครื่องหมายว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาต และสั่งเพิ่มเติมว่ากรณีนี้สุ่มเสี่ยงเป็นการลาเท็จหรือให้ข้อมูลเท็จและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ต่อมา คณะกรรมการที่นายเข้มแต่งตั้งสรุปความเห็นว่านายพลิ้วเป็นผู้ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและทำให้ราชการเกิดความเสียหาย เสนอให้หักเงินเดือนในวันที่ขาดราชการและให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนนายพลิ้ว นายเข้มเกษียนสั่งตามที่คณะกรรมการมีความเห็น นายพลิ้วจึงร้องทุกข์ต่อประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เรื่องผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งสั่งลงโทษโดยมิชอบ อ.ก.ค.ศ. เห็นว่า การที่นายพลิ้วยื่นขอลากิจเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 และได้หยุดไปก่อนโดยยังไม่ได้รับอนุญาตการลานั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลา พ.ศ.2555 แต่ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จะถือว่าเป็นการขาดราชการ การไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนและตัดเงินเดือน 1 วัน เป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสม” แต่นายพลิ้วก็ยังมิได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปกติ จึงมีคำถามว่า นายเข้มจะมีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่
ตามระเบียบการลาที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถือเป็นแนวปฏิบัติให้ใช้บังคับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 กำหนดให้ข้าราชการครูมีสิทธิลาป่วยไม่เกิน 60 วัน ลากิจไม่เกิน 30 วัน โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต ทั้งนี้ อำนาจของนายเข้มในฐานะผู้อำนวยการศึกษาผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตจะเป็นการใช้อำนาจตามเจตนารมณ์ของระเบียบการลาหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการใช้อำนาจนั้นต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อพิจารณาใบลากิจของนายพลิ้วและนางไหวซึ่งมิได้ระบุเหตุผลในการลากิจเป็นพิเศษอย่างไร แต่นายเข้มกลับอนุญาตให้นางไหวลากิจได้ แสดงว่านายเข้มไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการอนุญาตให้นางไหวลากิจเช่นเดียวกับที่ใช้กับนายพลิ้ว จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อการขาดราชการหมายความว่า การไม่มาปฏิบัติราชการโดยไม่มีเหตุผล แสดงว่าการที่นายพลิ้วยื่นใบลากิจวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 โดยที่นายพลิ้วไม่ทราบคำสั่งว่านายเข้มจะอนุญาตหรือไม่แล้วนายพลิ้วไม่ไปทำงานวันดังกล่าว ต่อมา เมื่อนายพลิ้วทราบว่านายเข้มไม่อนุญาตให้ลากิจจึงยื่นใบลาป่วยแทน กรณีจึงไม่ถือว่านายพลิ้วจงใจขาดราชการ แม้นายเข้มซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจจะอนุญาตให้นายพลิ้วลาหรือไม่ก็ได้ แต่การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวต้องอยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผลที่วิญญูชนทั่วไปยอมรับได้ว่ามิใช่เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ เมื่อปรากฏว่านายพลิ้วยื่นใบลากิจล่วงหน้าตามระเบียบ และภายหลังนายพลิ้วก็ได้ยื่นใบลาป่วยแทนใบลากิจที่นายเข้มมีคำสั่งไม่อนุญาตไปก่อนแล้ว นายเข้มจึงเกษียณคำสั่งคาดโทษนายพลิ้วว่าเป็นการลาเท็จเพื่อหาเหตุตั้งคณะกรรมการสอบสวนการลาของนายพลิ้วอันเป็นการหาเหตุลงโทษทางวินัยแก่นายพลิ้ว แม้ภายหลัง อ.ก.ค.ศ. จะพิจารณายกเลิกคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่นายพลิ้วก็ยังมิได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปกติ การกระทำของนายเข้มจึงเป็นการก่อความเสียหายแก่นายพลิ้ว และเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ ถือได้ว่านายเข้มปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่นายพลิ้วอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2562)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
นายพลิ้วและนางไหวรับราชการตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ส่วนนายเข้มเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน นายพลิ้วและนางไหวยื่นใบลากิจล่วงหน้าตามระเบียบในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 โดยนายพลิ้วแจ้งว่าจะเดินทางไปสถานทูตในวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ส่วนนางไหวแจ้งว่าจะเดินทางไปยังจังหวัดชลบุรีในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ช่วงเย็นของวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 นายเข้มมีคำสั่งอนุญาตให้นางไหวลากิจได้ แต่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้นายพลิ้วลากิจโดยแจ้งว่าการไปสถานทูตมิได้เป็นภารกิจที่จำเป็นและโรงเรียนไม่ทราบว่าจะไปทำไม เมื่อถึงวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 นายพลิ้วได้เดินทางไปที่สถานทูต และเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการตามปกติในวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 จึงทราบว่านายเข้มไม่อนุญาตให้ลากิจจึงยื่นใบลาป่วยวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 แทนใบลากิจ โดยอ้างว่าท้องเสีย นายเข้มจึงเกษียนสั่งโดยเว้นทำเครื่องหมายว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาต และสั่งเพิ่มเติมว่ากรณีนี้สุ่มเสี่ยงเป็นการลาเท็จหรือให้ข้อมูลเท็จและแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ต่อมา คณะกรรมการที่นายเข้มแต่งตั้งสรุปความเห็นว่านายพลิ้วเป็นผู้ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและทำให้ราชการเกิดความเสียหาย เสนอให้หักเงินเดือนในวันที่ขาดราชการและให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนนายพลิ้ว นายเข้มเกษียนสั่งตามที่คณะกรรมการมีความเห็น นายพลิ้วจึงร้องทุกข์ต่อประธานคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เรื่องผู้บังคับบัญชากลั่นแกล้งสั่งลงโทษโดยมิชอบ อ.ก.ค.ศ. เห็นว่า การที่นายพลิ้วยื่นขอลากิจเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 และได้หยุดไปก่อนโดยยังไม่ได้รับอนุญาตการลานั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลา พ.ศ.2555 แต่ยังไม่เป็นเหตุอันควรที่จะถือว่าเป็นการขาดราชการ การไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนและตัดเงินเดือน 1 วัน เป็นคำสั่งที่ไม่เหมาะสม” แต่นายพลิ้วก็ยังมิได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปกติ จึงมีคำถามว่า นายเข้มจะมีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่
ตามระเบียบการลาที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาถือเป็นแนวปฏิบัติให้ใช้บังคับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555 กำหนดให้ข้าราชการครูมีสิทธิลาป่วยไม่เกิน 60 วัน ลากิจไม่เกิน 30 วัน โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต ทั้งนี้ อำนาจของนายเข้มในฐานะผู้อำนวยการศึกษาผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตจะเป็นการใช้อำนาจตามเจตนารมณ์ของระเบียบการลาหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการใช้อำนาจนั้นต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อพิจารณาใบลากิจของนายพลิ้วและนางไหวซึ่งมิได้ระบุเหตุผลในการลากิจเป็นพิเศษอย่างไร แต่นายเข้มกลับอนุญาตให้นางไหวลากิจได้ แสดงว่านายเข้มไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการอนุญาตให้นางไหวลากิจเช่นเดียวกับที่ใช้กับนายพลิ้ว จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ เมื่อการขาดราชการหมายความว่า การไม่มาปฏิบัติราชการโดยไม่มีเหตุผล แสดงว่าการที่นายพลิ้วยื่นใบลากิจวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 โดยที่นายพลิ้วไม่ทราบคำสั่งว่านายเข้มจะอนุญาตหรือไม่แล้วนายพลิ้วไม่ไปทำงานวันดังกล่าว ต่อมา เมื่อนายพลิ้วทราบว่านายเข้มไม่อนุญาตให้ลากิจจึงยื่นใบลาป่วยแทน กรณีจึงไม่ถือว่านายพลิ้วจงใจขาดราชการ แม้นายเข้มซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจจะอนุญาตให้นายพลิ้วลาหรือไม่ก็ได้ แต่การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวต้องอยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผลที่วิญญูชนทั่วไปยอมรับได้ว่ามิใช่เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ เมื่อปรากฏว่านายพลิ้วยื่นใบลากิจล่วงหน้าตามระเบียบ และภายหลังนายพลิ้วก็ได้ยื่นใบลาป่วยแทนใบลากิจที่นายเข้มมีคำสั่งไม่อนุญาตไปก่อนแล้ว นายเข้มจึงเกษียณคำสั่งคาดโทษนายพลิ้วว่าเป็นการลาเท็จเพื่อหาเหตุตั้งคณะกรรมการสอบสวนการลาของนายพลิ้วอันเป็นการหาเหตุลงโทษทางวินัยแก่นายพลิ้ว แม้ภายหลัง อ.ก.ค.ศ. จะพิจารณายกเลิกคำสั่งดังกล่าวแล้ว แต่นายพลิ้วก็ยังมิได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนปกติ การกระทำของนายเข้มจึงเป็นการก่อความเสียหายแก่นายพลิ้ว และเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล เป็นการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ ถือได้ว่านายเข้มปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่นายพลิ้วอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2562)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ